การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

สุรพงษ์ อนันต์ธนสาร
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามสถานภาพ เพศ อายุ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการจัดการศึกษาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือครูและนักศึกษา จำนวน 362 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

  2. การเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามสถานภาพ เพศ อายุ ในภาพรวมและรายด้าน สถานภาพและอายุมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาในการพัฒนาครูผู้สอนให้มีความพร้อมและสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
อนันต์ธนสาร ส., & สืบเสาะ ส. (2023). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(3), 261–275. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.54
บท
บทความวิจัย

References

จันทร์จิรา ขานพล. (2564). สมรรถนะดิจิทัลของครูที่ส่งผลต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนครพนม.

ชัยวิชญ์ เข็มปัญญา. (2562). สภาพและแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนครพนม.

ธนพร กองคา. (2554). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

นันทรัตน์ ปีสาร. (2547). สภาพและแนวทางในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสมุทรสาคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บัญชา วงศ์คำภา. (2563). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิทักษ์ แก้วสืบ. (2560). สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรพงษ์ คงสัตย์. (2554). การศึกษาอิสระทางพระพุทธศาสนา. นครราชสีมา: เอสทีเคก๊อปปี้.

สวงษ์ ไชยยา. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนไทยใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Behringer, R. (2012). Computer Graphics and Applications. IEEE, 21(6), 34-47.

Cearley, D., Walker, M., Burke, B., & Searle, S. (2017). Top 10 Strategic Technology Trends for 2017: A Gartner Trend Insight Report. Retrieved October 18, 2019, from http://www.gartner.com/ doc/3645332?srcId=1-6595640781

PC Magazine. (2014). Definition of digital technology. Retrieved September 2, 2019, from http://www.pcmag.com/encyclopedia/term/69059/digitaltechnology