การใช้นวัตกรรมบริหารงานวิชาการในยุคปกติใหม่ของผู้บริหาร โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

สุชญา ศรีอุดม
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นการใช้นวัตกรรมบริหารงานวิชาการในยุคปกติใหม่ของผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นการใช้นวัตกรรมบริหารงานวิชาการในยุคปกติใหม่ของผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำแนกตาม เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แนวคิดการบริหารงานวิชาการเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน และใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้น จำนวน 261 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้นวัตกรรมบริหารงานวิชาการในยุคปกติใหม่ของผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. การเปรียบเทียบการใช้นวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มี เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการใช้นวัตกรรมบริหารงานวิชาการของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพก้าวหน้าทันยุคแห่งสังคมการเรียนรู้แบบยุคปกติใหม่เป็นการยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

Article Details

How to Cite
ศรีอุดม ส., & สืบเสาะ ส. (2023). การใช้นวัตกรรมบริหารงานวิชาการในยุคปกติใหม่ของผู้บริหาร โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(2), 266–279. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.34
บท
บทความวิจัย

References

สำนักนโยบายและแผนการศึกษา. (2556). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ยุพา พรมแย้ม. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิภา ทองหงำ และศิริชัย ชินะตังกูร. (2554). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัชนีบูรณ์ เนตรภักดี และคณะ. (2563). ความปกติใหม่ (New Normal) กับแนวทางการจัดการศึกษาในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(2), 752-763.

เนชั่นออนไลน์. (2564). "ชีวิตวิถีใหม่" ทำให้ผู้ผลิตสื่อการเรียนรู้ ปรับตัวอย่างไร ในยุค New Normal. สืบค้น 10 สิงหาคม 2565, จาก https://www.nationtv.tv/news/378857410

สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2562). การประคุณภาพทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม.

สุริดา หลังจิ. (2556). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

สราวุฒิ นิ่มนวล, สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง และ ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ. (2564). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(1), 68-77.

ธานินทร์ อินทรวิเศษ, ธนวัฒน์ เจริญษา และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2564). ภาพสะท้อนการศึกษาไทยหลังภาวะ โควิด2019. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(4), 323-333.

วราพร สินศิริ. (2564). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(3),129-146.

พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Krejcie, R.V., & Morgan D.W. (1970).Determining sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-608.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.