การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษามือ เพื่อการสื่อสารโดยใช้การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ (Active Learning) ของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษามือเพื่อการสื่อสารของนักศึกษา สาขาวิชาภาษามือและการสื่อสารของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ (Active Learning) ประชากร คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาและการสื่อสาร ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1/2564 จำนวนนักศึกษาทั้งหมด 36 คน โดยวิธีเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ระหว่างเรียนและหลังเรียน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่าง (สถิติ t-test)
ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษามือเพื่อการสื่อสารระหว่างและหลังการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติของนักศึกษา สาขาวิชาภาษามือและการสื่อสารของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาสาขาวิชาภาษาและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าระหว่างเรียน สำหรับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ (Active Learning) พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการออกแบบแผนการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Active Learning) อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการวัดประเมินผลการเรียนการสอน มีความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกับชุมชนผู้ใช้ภาษามือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (นักศึกษาประเมินตนเองจากการเรียน) และด้านวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เดชดนัย จุ้ยชุม, เกษรา บ่าวแช่มช้อย และศิริกัญญา แก่นทอง. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการคิดของนักศึกษาในรายวิชา ทักษะการคิด (Thinking Skills) รหัสวิชา 11-024-112 ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning). วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3), 47-57.
มานพ จิตแม้น. (2562). พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(3), 46-52.
ลัดดาวัลย์ สาระภัย. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์แสง ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ แบบกระตือรือร้น (Active Learning) (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วราภรณ์ ศรีวิโรจน์. (ม.ป.พ.) เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชา 1022230 หลักการจัดการเรียนการรู้. เพชรบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
วรางคณา นามแสง. (2558). การพัฒนาคลังคำศัพท์ออนไลน์สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน. (วิทยานิพนธ์วิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ศศิวิมล คงสุวรรณ และเบญจมาภรณ์ ฤาไชย. (2563). การเรียนการสอนสำหรับคนหูหนวกในประเทศไทย : สภาพปัญหา รูปแบบ และ กระบวนการสอนแบบสองภาษา. วารสารมังรายสาร สถาบันภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(1), 1-14.
สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย. (2561). สถิติคนพิการทางการได้ยิน 2561. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2565, จาก https://nadt.or.th/pages/stat61.html
สิริรัตน์ เพ็ชรโปรี. (2548). การศึกษาความสามารถการจำคำศัพท์ภาษามือของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมเกมเบ็ดเตล็ด (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุภา วัชรสุขุม และคณะ (2560). ผลการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning) ที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจในการเรียน ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สำนักงานศึกษาธิการภาค 3. (2563). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่บผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 3. ราชบุรี: สำนักงานศึกษาธิการภาค 3.
Woodward, J. C. (1996). Modern Standard Thai Sign Language, influence from ASL, and its relationship to original Thai sign varieties. Gallaudet University Press, (92), 227–52.
Stokoe, W. C. (1960). Sign Language Structure: An Outline of the Visual Communication System of the American Deaf. Buffalo, NY: University of Buffalo.