ความคาดหวังและการรับรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีต่อการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Main Article Content

อรดา เกรียงสินยศ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังและการรับรู้ของนักศึกษา (2) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้ของนักศึกษา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3)เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ของนักศึกษา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) รูปแบบการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะด้วยกัน ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 คณะวิศวกรรมศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์ด้วย MANOVA, MCA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์ผู้บริหารและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และวิเคราะห์ด้วยวิธี Content Analysis
ผลการศึกษาพบว่า 1.ภาพรวมนักศึกษามีความคาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.22 และมีการรับรู้อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.76 2.นักศึกษาที่มีเพศและสาขาวิชาแตกต่างกัน มีความคาดหวังแตกต่างกัน และนักศึกษาที่มีสาขาวิชาและได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยก่อนเข้าศึกษาจากแหล่งข้อมูลแตกต่างกัน มีการรับรู้แตกต่างกัน 3.ความคาดหวังโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้โดยรวม นอกจากนี้ยังพบว่า มจพ. และ มจธ. มีความเหมือนกันในกรอบแนวคิดการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ การลงปฏิบัติจริงจากห้องปฏิบัติการ และฝึกงานในสถานประกอบการในอนาคตทุกหลักสูตรควรมีการพัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานจากองค์กร คือ ABET และ TABEE เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงาน ซึ่งการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือของคณาจารย์

Article Details

How to Cite
เกรียงสินยศ อ. (2023). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีต่อการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(2), 44–59. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.19
บท
บทความวิจัย

References

กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2560). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2559. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กิรินดา ไชยศรีสุทธิ์. (2562). ความต้องการและความคาดหวังของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน ระดับบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 14-21.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชลลดา มงคลวนิช และรัตนาภรณ์ ชาติวงศ์. (2560). ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพบริการของฝ่ายต้อนรับส่วนหน้าในโรงแรม 5 ดาว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

ชูเกียรติ วรรณสอน. (2553). การเลือกเรียนวิชาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นันทวิช เหล่าวิชยา. (2559). ความคาดหวังและความพึงพอใจนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล: กรณีศึกษาการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมและการเรียนการสอนแบบออนไลน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 10(1), 47-54.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

พรรณพนัช จันหา, สมเกียรติ ไทยปรีชา และศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2562). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่มีต่อหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 6(1), 85-105.

พรรณพนัช จันหา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสาร Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 291-318.

รัชตา ธรรมเจริญ, วิทวัส ดิษยะศริน และเจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์. (2557). ความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และการจัดการของนักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับ ชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5. 16 พฤษภาคม 2557. หน้า 1930-1946. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อุษณีย์ แจ่มใส. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.