แนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมเมืองที่เป็นมิตร ต่อผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นุสรี ศิริพัฒน์

บทคัดย่อ

                 การศึกษาวิจัยใครั้งนี้นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร 2)ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและ3)เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งสิ้นจำนวน 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำมาพรรณาหาข้อสรุปอย่างเป็นระบบมีเหตุผลอ้างอิงทฤษฎีดำเนินการจัดระเบียบข้อมูล


                 ผลการวิจัยพบว่า1.พื้นที่สาธารณะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเมืองที่ส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิตและรองรับความต้องการที่หลากหลาย การปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องและเหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ผู้สูงอายุใช้พื้นที่ได้อย่างปลอดภัยและมีปฏิสัมพันธ์กันในทางสังคมที่เป็นบทสะท้อนสะท้อนถึงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อประโยชน์ต่อการบริการพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสมของผู้สูงอายุ 2.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร มีข้อค้นพบที่หน้าสนใจดังนี้ (1)ด้านกายภาพพื้นที่สาธารณะ (2)ด้านขอบเขตการให้บริการ (3)ด้านความสะดวกสบายภายใน (4)ด้านภาพลักษณ์ของพื้นที่ (5)ด้านความรู้สึกต่อสถานที่ (6)ด้านการเป็นพื้นที่ทางสังคม (7)แนวทางการออกแบบพื้นที่ตอบรับกับพฤติกรรมของผู้สูงอายุ3.แนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสม โดยจัดทำแผนบูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบในการพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมปลอดภัยต่อที่เป็นมิตรจากการใช้บริการของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565 จาก http://www. dop.go.th/th/know/1.

กิตติยา ศรีเลิศฟ้า. (2558). ปจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนํานโยบายผูสูงอายุไปปฏิบัติ. ในปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การเมือง), มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2545). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

ณัฐธิดา จุมปา และเพ็ญพักตร์ ไชยนุรักษ์. (2561). สิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและปลอดภัยเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างความเสมอภาคใน สังคม: กรณีศึกษาชุมชนชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย. Veridian E Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. 11(3), 1508-1509.

ดวงกมล ภูนวล พัชรินทร์ สิรสุนทร เสรี พงศ์พิศ และศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. (2557). การพัฒนารูปแบบเมืองผู้สูงอายุอยู่สบาย. Journal of Health Education. 37(126), 82-101.

ปาริชาติ ชาลีเครือ. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6(4), 1620-1632.

ปิยะ กล้าประเสริฐ. (2561) . ข้อเสนอเชิงนโยบายในการเตรียมความพร้อมด้านบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ. Journal of MCU Peace Studies. 6(4), 1607-1619.

พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564).โมเดลความสัมพันธเชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมชุมชนเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายผูสูงอายุในหนวยปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแหงชาติ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 7(2), 322-335.

โมรยา วิเศษศรี และคณะ. (2563). ประสิทธิภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(9), 79-94.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2557). สังคมผู้สูงอายุ: นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565 จาก www.stou.ac.th/stounline/lom/data/.

ศิริสุข นาคะเสนีย. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร.วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 12(1), 39-48.

ศุภชัย ชัยจันทร์และณรงพน ไล่ประกอบทรัพย์ (2559). แนวคิดสาธารณะของพื้นที่สาธารณะในเมือง. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 15(2), 71-83.

สุรีรัตน์ จำปาเงิน. (2559). แนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. ในวิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Akkar, Z.M. (2004). “New-generation public spaces - How ‘inclusive’ are they?”. In the proceedings of Open Space: People Space Conference, Edinburgh, Scotland, 27-29 October 2004. Edinburgh: The Hub.

Brooke, J.L. 1998. “Reason and Passion in the Public Sphere: Habermas and the Cultural Historians”. Journal of Interdisciplinary History, 29(1): 43-67.

Miller, F. A. (1986). Planned Pastoral Care: A Guide for Teachers. London: McGrawHill