การนำนโยบายการรับราชการทหารกองประจำการโดยวิธีร้องขอไปปฏิบัติ: ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข

Main Article Content

นพดล ฟักอังกูร
ศุภชัย ยาวะประภาษ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการนำนโยบายการรับราชการทหารกองประจำการโดยวิธีร้องขอไปปฏิบัติ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ตัวแบบทางด้านการพัฒนาองค์การ การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ กรุงเทพ น่าน กาฬสินธุ์ และสงขลา เป็นพื้นที่ที่มีผู้ร้องขอเข้ารับราชการทหารกองประจำการครบตามจำนวนที่ต้องการในแต่ละภาค ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขต สัสดีเขต ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และสัสดีอำเภอ จำนวน 28 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาและอุปสรรคของการนำนโยบายไปปฏิบัติ คือศักยภาพและความสามารถในการทำงานที่แตกต่างกันของหน่วยสัสดีจังหวัด การตอบสนองต่อความต้องการด้านค่าตอบแทน สวัสดิการ ความก้าวหน้า ความมีศักดิ์ศรี และการรับรู้แหล่งที่มาของนโยบาย ระยะเวลาดำเนินนโยบายและการตอบสนองต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติที่แตกต่างกัน
2. แนวทางการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จคือ ผู้ปฏิบัติต้องมีภาวะผู้นำ ทำงานเชิงรุก และทำงานเป็นทีมร่วมกับทุกภาคส่วน จูงใจผู้สมัครให้สอดคล้องกับความต้องการ สร้างการรับรู้นโยบายให้ชัดเจนโดยสื่อสารโครงการของทหารหรือบุคคลตัวอย่างทางการทหารที่สร้างคุณค่ากับสังคม และควรรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้ประสบความสำเร็จต่อไป
ข้อค้นพบจากงานวิจัยที่สำคัญคือ การนำนโยบายไปปฏิบัติของหน่วยย่อยในองค์การ มีปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัจจัยด้านหน่วยสัสดี เครื่องมือจูงใจ การประชาสัมพันธ์ ภาพลักษณ์ของทหาร และการรับรู้นโยบาย

Article Details

How to Cite
ฟักอังกูร น., & ยาวะประภาษ ศ. (2023). การนำนโยบายการรับราชการทหารกองประจำการโดยวิธีร้องขอไปปฏิบัติ: ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(2), 237–250. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.32
บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวง ฉบับที่ 35 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497. (2516, 29 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 90 ตอนที่ 30 ฉบับพิเศษ หน้า 1-4.

กรมการสรรพกำลังกลาโหม. (2565). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2565, จากhttps://dmd.mod.go.th/introduce/history.aspx

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการกำหนดหน้าที่สัสดี พ.ศ. 2553. (2565). สืบค้น 6 กันยายน 2565, จาก https://www.tdc.mi.th/pdf/ข้อบังคับ%20กห.%20ว่าด้วยการสัสดี.pdf

คธายุทธ์ เสาวคนธ์. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบทหารกองประจำการ (อาสาสมัคร) ของกองทัพบก (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ทวี แจ่มจำรัส. (2564). บทบาทของนายทหารบกระดับกลางที่มีอิทธิพลต่อการเข้าเป็นพลทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ของไทย.วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2), 32-44.

ประเสริฐ แดงไผ่. (2563). รูปแบบการบริหารทหารกองประจำการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกองทัพไทย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(2), 151-162.

พงษ์ศักดิ์ บัวศรี. (2555). นโยบายการพัฒนาระบบทหารอาสาสมัครของกองทัพไทยโดยการสร้างแรงจูงใจเข้าสู่การเป็นทหารกองประจำการ. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 1(2), 96-114.

พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497. (2497). เล่ม 69 ตอนที่ 15 หน้า 195-226.

วรเดช จันทรศร. (2559). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

วิรัช ลภิรัตนกลุ. (2553). การประชาสัมพันธ์ฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2550). นโยบายสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพร เทพสิทธา. (2546). อุดมการณ์และบทบาทของอาสาสมัคร: แนวคิดและทิศทางการพัฒนางานอาสาสมัครในสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

Berlo, D. K. (1960). The process of communication. New York: Rinejart & Winston.

Scupham, W. (2014). Friend, fellows, citizens and soldiers: The evolution of French revolution army, 1792-1799. Primary Source, 5 (1), 24-31.

Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration & Society, 6, 445-488.