วัฒนธรรมองค์การและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรภายใต้การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

Main Article Content

ศิราณี เมฆลอย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรภายใต้การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรภายใต้การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 และ 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการทำงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรภายใต้การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 230 คน โดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ และการวิเคราะห์ผลทางสถิติแบบ Multiple Hierarchy Regression Analysis
ในการทดสอบสมมติฐานเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามในการศึกษาครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรภายใต้การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
2. ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การและสภาพแวดล้อมการทำงาน มีความสัมพันธ์ในระดับสูงต่อคุณภาพชีวิตการทำงานภายใต้การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของบุคลากร พบว่า วัฒนธรรมองค์การด้านวัฒนธรรมส่วนร่วม (r =.943) สภาพแวดล้อมการทำงานด้านกายภาพ (r =.733**)
มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร
3. ผลการศึกษาวัฒนธรรมองค์การและสภาพแวดล้อมการทำงานมีอิทธิพลทางตรงร่วมกันต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรภายใต้การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ซึ่งตัวแปรที่เป็นปัจจัยทำนาย ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การ R2= 0.840, R2Adjusted=0.830, Sr2=3.340, F=23.52, p<0.001 และสภาพแวดล้อมการทำงานองค์การ (R2= 0.807, R2adjusted= 0.651, F=465.3, p< 0.001) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
เมฆลอย ศ. (2023). วัฒนธรรมองค์การและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรภายใต้การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 143–157. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.10
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). บทความการตื่นตัวกับ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

กมลพร กัลยาณมิตร (2564). วิจัยเรื่องการนำกลยุทธ์การบริหารสู่การปฏิบัติ ในรูปแบบความปกติใหม่ (New Normal). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 402-422.

ดาวรุ่งรตา วงษ์ไกร. (2563). การบริหารจัดการองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบุคลากร สำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาเขตพื้นที่ 13 กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 7(2), 257-269.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2561). กลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงานขององค์การ: ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนวัฒน์ วิเศษสมบัติ และ ฐิติมา ไชยะกุล. (2561). ผลกระทบของแรงจูงใจ ความพึงพอใจ และความผูกพันต่อองค์กร ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการใอุตสาหกรรมยานยนต์ ของเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 14-26.

พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). ภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.).วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 60-71.

บุญเรือน ทองทิพย์. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับศักยภาพของผู้นำ ต่อการพัฒนาองค์การแบบ New Normal. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1),434-446.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีต่อการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ 13 (กรุงเทพมหานคร). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 486-498.

วรชัย สิงหฤกษ์ และวิโรจน์ เจษฏาลักษณ์.(2560). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผ่านความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 203-210.

สุธา พงศ์ถาวรภิญโญ. (2562). กลยุทธ์การสร้างสรรค์คุณค่าร่วมที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้าในโรงแรมระดับ 3 ดาว เมืองพัทยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.