ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์
ปิยะชาติ ปทุมพร
เนตรชนก สูนาสวน
จิราภรณ์ ชนัญชนะ

บทคัดย่อ

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้แพร่ไปทั่วทุกมุมโลก ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งมิติทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้วิถีชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงและมีการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์  งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม 2) การปรับตัวการดำเนินวิถีชีวิตใหม่ และ 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม และสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยการประกอบอาชีพไม่สามารถทำได้ตามปกติ ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากที่สุด ในขณะที่ การจัดการศึกษาทั้งระบบ ได้รับผลกระทบทางสังคมน้อยที่สุด 2) มีการปรับตัวทั้งการประหยัด พึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด เพิ่มช่องทางในการเพิ่ม/หารายได้ และต้องการทักษะใหม่เพื่อการประกอบอาชีพ และการสวมใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือ การเว้นระยะห่าง เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวัน  และ 3) แนวทางบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภาครัฐต้องมีมาตรการช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับประชาชนแต่ละกลุ่มให้ชัดเจนและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ให้ความรู้และรณรงค์เกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภาคประชาชน และหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดมาตรการช่วยเหลือในระดับจังหวัดได้

Article Details

How to Cite
สุดสมบูรณ์ ส. ., ปทุมพร ป., สูนาสวน เ., & ชนัญชนะ จ. (2023). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 13–29. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.2
บท
บทความวิจัย

References

กรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา. (2563). หมอชี้โควิดส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตแบบใหม่ด้านสังคม.สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563, จาก https://www.dailsynews.co.th/politics/771154

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). กลุ่มเปราะบางที่ได้รับกระทบจากโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/20997utm

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563ก). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมควบคุมโรค. (2564). ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในระดับโลก และในประเทศไทย (รายงานผลการทบทวน). สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP).

กรมควบคุมโรค. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

กฤษฎา บุญชัย, จุฑาทิพย์ มณีพงษ์, ปิโยรส ปานยงค์, วภัทราพร เตโจ, ประภาส ปิ่นตบแต่ง, วิฑูรย์ เลี่ยมจำรูญ และสุภา ใยเมือง. (2563). การประเมินความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชน ท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID 19. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

ดาว ชุ่มตะขบ. (2563). เศรษฐกิจพอเพียง ทางเลือก ทางรอดฝ่าวิกฤติโควิด-19. วารสารสังคมวิจัยและการพัฒนา, 2(3), 11-22.

จิราภรณ์ แผลงประพันธ์ และ สมชัย จิตสุชน. (2563). ผลกระทบของ COVID-19 ต่อครัวเรือนที่มีเด็กเล็ก. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563, จาก https://tdri.or.th/2020/08/covid19-impact-early-child/

พงษ์มนัส ดีอด. (2563). เศรษฐกิจพอเพียง ทางเลือก ทางรอดฝ่าวิกฤติโควิด-19. วารสารสังคมวิจัยและการพัฒนา, 7(6),131-144.

สำนักข่าวอิสรา. (2563). ผลกระทบทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาคจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563, https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/87713-repoer03-13..html

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2562). ข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จาก https://www.ect.go.th/nakhonsithammarat/main.php?filename=index

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2563). กลุ่มอำเภอ โซนเขา ป่า นา เล. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563, จาก https://nakhonsi.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/Press_Release/ 2563/p28-04-63.aspx

เสาวลักษณ์ กิตติประภัสร์, ธรรมวิทย์ เทิดอุดมธรรม, พราวภวินท์ พักตร์ธนาปกรณ์ และ พัชราภรณ์ ศอกจะบก. (2563). ผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และวิกฤตเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สุพิชญา วงศ์วาสนา. (2564). ปัจจัยผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ของพนักงานฝ่ายการโดยสาร กรณีศึกษาบริษัท บางกอกไฟลท์เซอร์วิสเซส จำกัด (BFS). วารสารรัชต์ภาคย์, 15(39), 15-30.

สุพัตรา รุ่งรัตน์, ซูลฟีกอร์ มาโซ และ ยุทธนา กาเด็ม. (2564). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจาก สถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา. วารสารสังคมและมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2),161-174.

Coibion, O., Gorodnichenko, Y., & Weber, M. (2020). Labor Markets during the COVID-19 crisis: A preliminary view. Nation Bureau of Economic Research. NBER Working Paper No. 27017, 1-13.

Dong, E., Du, H. & Gardner, L. (2020). An interactive web-based dashboard to track COVID19 in real time. The Lancet Infectious Diseases, 20(5), 533–534.

Lekfuangfu, W.N., Piyapromdee, S., Porapakkarm, P. & Wasi, N.(2020). On Covid-19: New Implications of Job Task Requirements and Spouse’s Occupational Sorting. PIER Discussion Paper No. 133.

Kaplan K., Moll B., & Violante G. (2020). The Great Lockdown and the Big Stimulus : Tracing the Pandemic Possibility Frontier for the U.S. Nation Bureau of Economic Research. Working Paper 27794.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.

Vanclay, F., Howden, P., Mesiti, L. & Glyde, S. (2006) The social and intellectual construction of Farming Styles: Testing Dutch ideas in Australian agriculture. Sociologia Ruralis,46(1), 61-82.