การพัฒนาการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการ ในการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มนครชัยบุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการในการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ” นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการ 2) ปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการ 3) ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการ และ 4) พัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการในการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มนครชัยบุรินทร์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมในการบริหารงานเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กลุ่มประชากร คือ ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ และกรรมการสภาคณาจารย์และข้าราชการ จำนวน 120 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ จำนวน 4 คน กรรมการสภาคณาจารย์และข้าราชการ จำนวน 8 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการมีส่วนร่วม ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมในการวางแผน การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.40
2. ปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม ประกอบด้วยกลุ่มปัจจัยจูงใจ กลุ่มปัจจัยสนับสนุน และกลุ่มปัจจัยช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.17
3. ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วม ได้แก่ ขาดการสนับสนุนด้านการเงิน บุคลากร อาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ครุภัณฑ์ ขาดความสนใจและให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ จากคณาจารย์และบุคลากรในองค์กร
4. แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วม ได้แก่ สภาคณาจารย์และข้าราชการควรแสดงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบเพื่อการมีส่วนร่วม คือ ปกป้องต่อสู้ในเรื่องสิทธิและผลประโยชน์ของคณาจารย์บุคลากร การเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ประสานความเข้าใจอันดีระหว่างคณาจารย์และบุคลากร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขนิษฐา หอมตะโก. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้าสิ่งแวดล้อมของสมัชชาสุขภาพจังหวัด ภาคใต้ตอนบน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ชนะชัย บุญเพิ่ม. (2555). บทบาทของสภาคณาจารย์และข้าราชการต่อการเคลื่อนไหวของพนักงาน: กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564, จาก https://prachatai.com/journal/2012/07/41338
ประนอม จันทรังษี. (2557). ความคาดหวังของผู้บริหารและคณาจารย์ที่มีต่อบทบาทของสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ประสิทธิ์ ไชยศรี. (2557). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการ ในการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พจนีย์ จันที. (2561). การศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. (14 มิถุนายน 2547). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 23 ก, หน้า 1-24.
ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน: แนวคิด หลักการ และการส่งเสริม. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 5(2), 384-400.
รัชตา คำเสมานันทน์. (2562). การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองของกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบลในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2), 377-402.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.
วิชัย แหวนเพชร. (2552). ปัญหาของสภาคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. กรุงเทพฯ: มปส.
ศรัณย์ เจียระนัย, พิมพา ม่วงศิริธรรม และอัศวิน มณีอินทร์. (2558). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(2), 44-54.
สกล แก้วศิริ. (2553). การศึกษารูปแบบการบริหารงานสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2564). รายงานผลการประเมิน สภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ในระอบ 2 ปี (มีนาคม 2562- มกราคม 2564). กรุงเทพฯ: สภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์.วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 183-197.
อริยา คูหา และอะห์มัด ยี่สุ่นทรง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
Cohen, j.M. and Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures. Ithaca NY: Rural Development.
Davis, K. and Newstrom, J. W. (1985). Human Behavior at Work : Organization Behavior. New York: McGraw-Hill Book.