การพัฒนาการจัดการคุณภาพของอุตสาหกรรมเวชสำอาง

Main Article Content

มาลี มีแสงพันธ์
ชัชวาล แสงทองล้วน
ฐิติมา โห้ลำยอง
สุพัตรา ยอดสุรางค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อพรรณนาบริบทการจัดการคุณภาพของอุตสาหกรรมเวชสำอาง (2) เพื่อระบุปัญหาการจัดการคุณภาพของอุตสาหกรรมเวชสำอาง และ (3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาการจัดการคุณภาพของอุตสาหกรรมเวชสำอาง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 คน ได้แก่ บุคลากร คู่ค้า และ ลูกค้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ


ผลการวิจัย (1) บริบทการจัดการคุณภาพ ประกอบด้วย นโยบาย หลักเกณฑ์ หลักการ กระบวนการดำเนินงาน และ หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการจัดการคุณภาพ (2) ปัญหาการจัดการคุณภาพ ประกอบด้วย (2.1) ด้านการสร้างปณิธาน พบว่า ปณิธานขาดความชัดเจน (2.2) ด้านภาวะผู้นำ พบว่า บุคคลากรขาดความมั่นใจและความรับผิดชอบ (2.3) ด้านความร่วมมือ พบว่า พนักงานบางส่วนขาดการให้ความร่วมมือ (2.4) ด้านการสร้างความภาคภูมิใจ พบว่าพนักงานไม่มีความภาคภูมิใจในงาน (2.5) ด้านการเน้นคุณภาพผลผลิตมากกว่าต้นทุน พบว่า ปัจจัยภายนอกด้านเศรษฐกิจกดดันด้านต้นทุน (2.6) ด้านการเน้นคุณภาพของผลงาน พบว่า คุณภาพของผลงานได้รับผลกระทบจากแรงกดดันด้านต้นทุน (2.7) ด้านการควบคุมการผลิต พบว่า ไม่มีการควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามแผน (2.8) ด้านการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ พบว่า เนื้อหาในการฝึกอบรมไม่ตรงตามภารกิจของตัวงาน (2.9) ด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ พบว่า พนักงานขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่ (2.10) ด้านการจัดทำแผนการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ พบว่า หน่วยงานยังไม่สามารถโน้มน้าวให้พนักงานเห็นความสำคัญของการศึกษา (2.11) ด้านการลงมือปฏิบัติเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงบรรลุผลสำเร็จ พบว่า พนักงานขาดแรงจูงใจในการลงมือปฏิบัติ และ (3) รูปแบบการจัดการคุณภาพ คือ การริเริ่มในประเด็นดังนี้ (3.1) การสร้างระบบการทำงานเป็นทีม (3.2) การเสริมสร้างความมั่นใจเพื่อความภาคภูมิใจในงาน (3.3) การสร้างจิตสำนึกเพื่อการจัดการคุณภาพ และ (3.4) การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างมีความสุข

Article Details

How to Cite
มีแสงพันธ์ ม., แสงทองล้วน ช., โห้ลำยอง ฐ., & ยอดสุรางค์ ส. (2022). การพัฒนาการจัดการคุณภาพของอุตสาหกรรมเวชสำอาง. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 168–182. https://doi.org/10.14456/jappm.2022.27
บท
บทความวิจัย

References

กฤต วรางกูร และวศิน เหลี่ยมปรีชา.(2563). การจัดการความรู้ลูกค้าของผู้ประกอบการเวชสำอางธรรมชาติในเขตภาคเหนือ. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี,7(2),1 - 17.

กฤษติญา มูลศรี. (2562). กรอบแนวคิดแมคคินซีย์ 7s และการจัดการคุณภาพโดยรวมที่มีผลสัมฤทธิ์ธุรกิจ. วารสารสหการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 40.

ปาริชาติ เพชรพุก. (2560). โอกาสทางการตลาดของเครื่องสำอางสมุนไพรไทยในตลาดโลก (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. 2560. การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ท้อป.

อโณทัย งามวิชัยกิจ. (2560). แนวทางการจัดการคุณภาพแบบองค์รวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเอเชีย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร,14(1), 65-66.

Abubakar, R. & Mahmood, R. (2016). Firm resource advantage, total quality Management, SME performance: Empirical evidence from Nigerianmanufacturing firms. Journal of business management, MAYFEB Journal of Business and Management, 1, 1-9.

AI-Damen, R. (2017). The impact of Total Quality Management on organizational performance Case of Jordan Oil Petroleum Company. International Journal of Business and Social Science, 8(1), 192-202.

Akhtat, S., Zameer, H. & Saeed, R. (2014). Impact of Total Quality Management on the Performance of Service Organizations in Pakistan. International Journal of Academic Research in Economics and Management Sciences,3(6), 109-117.

Benavides-Velasco, C., Quintana-Garcia, C., & Marchante-Lara, M. (2014). Total Quality Management, corporate social responsibility and performance in the hotel industry. International Journal of Hospitality Management, 41, 77-87.

Gharakhani, D. et al. (2013). Total QualityManagement and Organizational Performance. American Journal of Industrial Engineering,1(3), 46-50.

Jabeen, R., Shehu, A., Mahmood, R., & Mata, B. (2014).TQM and Knowledge Management Impacts on SME Performance. International Postgraduate Business Journal,6(2), 23-43.

Kwamega, M., Li, D., & Ntiamoah, E. (2015).Role of Total Quality Management (TQM) as a Tool for Performance Measurement in Small and Medium Sized Enterprise (SME’S) in Ghana. British Journal of Economics, Management & Trade,10(3), 1-10.

Mehra, S., Hoffman, J. M., Sirias, D. (2001). TQM as a management strategy for the next millennia. International Journal of Operations & Production Management, 21(5/6), 855 – 876.

Nekoueizadh, S. & Esmaeili, S. (2013). A study of the impact of TQM on organizational performance of the Telecommunication Industry in Iran. European Online Journal of Natural and Social Sciences, 2(3), 968-978.

Parul, K. & Rubal, K. (2016). Total Quality Management is an Important Factor in Today’s Business World. IOSR Journal of Business and Management, 18(6), 84-88.

Saeed, N. & Hasan, A. (2012).The Effects of Total Quality Management on Construction Project Performance: Case Study: Construction Firms in Yemen. Journal of Science & Technology,17 (2), 11-30.