การศึกษาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครู เกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรีในอุดมคติของครู รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แนวคิด ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยคือสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ครู จำนวน 140 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบ ค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี โดยรวมการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการรับผิดชอบดูแล รองลงมา คือ ด้านการมุ่งมั่นพัฒนาบุคคล สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการอ่อนน้อมถ่อมตน 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครู เกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี จำแนกตามประสบการณ์การทำงานและวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี ในอุดมคติของครู ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าผู้บริหารควรให้ความสำคัญด้านการตระหนักรู้มากที่สุด ผู้บริหารควรรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ รองลงมาคือ ด้านการเยียวยารักษาต้องเป็นผู้นำที่มีความยุติธรรม เป็นคนดี โปร่งใส่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีหลักธรรมาภิบาล หลักความเสมอภาค รองลงมา ควรให้ความสำคัญด้านการโน้มน้าวใจซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาต้องเก่งมีความสามารถรอบด้าน สามารถเป็นแบบอย่างให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา เข้าใจถึงปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาได้ รองลงมาคือ ด้านการสร้างชุมชน ต้องสามารถสร้างความรัก ความศรัทธา และความเชื่อมั่นที่จะพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไม่มีเงื่อนไข รองลงมาคือ ด้านความอ่อนน้อมถ่อมตน น่านับถือ ไม่มีอคติส่วนตัว พูดจาไพเราะ อ่อนน้อมถ่อมตน และควรพัฒนาด้านความรับผิดชอบ ดูแล ผู้บริหารต้องเป็นผู้เสียสละมีความเต็มใจใฝ่บริการอย่างจริงใจ อุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ทราบข้อมูลภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี ทำให้ทราบข้อมูลเปรียบเทียบ ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความเห็นของครูที่มีสถานภาพต่างกัน คือ ประสบการณ์การทำงาน และวุฒิการศึกษา เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อนำข้อเสนอแนะไปใช้ในการพัฒนางาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นรินทร์ ไพเราะ.(2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ แบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระราชูปถัมภ์ฯ สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาปราจีนบุรีเขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
นลินี จันทร์เปล่ง. (2563). สภาพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุรินทร์(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี. (2564). บริบทสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี. แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564. ชลบุรี: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี.
Greenleaf, R. K. (1976). The institution as servant. Indiana: Publication of the Greenleaf Center.
Hardin, F.W. (2003). Impacting Team Public School through a Student Servant-Leader Model: A Case Study (Doctoral Dissertation). Tech University.
Insley, R., Laeger, P., Ekinci, A. & Sakiz, H. (2016). An Evaluation of Teachers’ Opinions about the Servant Leadership Behaviors of School Principals.Educational Process: International Journal,5(3), 223-235.
Merceditas, A. (2018). Servant-leadership Traits of Educational Administrators: Emerging Profiles and Predictors. International Journal of Humanities and Social Science Research,4(1),36- 40.
Spears, L. C. (2002). Focus on Leadership: Servant-leadership for the 21 Century. New York: John Wiley & sons.
Thompson, C.H. (2005).The Public School Superintendent and Servant Leadership (Doctoral Dissertation). Graduate School Wisconsin University.