แนวทางการพัฒนากรอบคิดแบบเติบโตของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน

Main Article Content

ษฑฬษ ปรีชาจารย์
วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย
วิทยา ศรีชมพู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือเพื่อศึกษาการคิดกลยุทธ์การเสริมสร้างกรอบคิดแบบเติบโตของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี เพื่อพัฒนากลยุทธ์การเสริมสร้างกรอบคิดแบบเติบโตของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี และเพื่อประเมินกลยุทธ์การเสริมสร้างกรอบคิดแบบเติบโตของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 88 คน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนระดับขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรี เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความคิดเห็น  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNI modified


ซึ่งผลการวิจัยพบว่า การคิดกลยุทธ์การเสริมสร้างกรอบคิดแบบเติบโตของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย ความพยายาม ความท้าทาย ความผิดพลาด ข้อมูลป้อนกลับ และ ความสำเร็จของผู้อื่น  ด้านการพัฒนากลยุทธ์การเสริมสร้างกรอบคิดแบบเติบโตของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี พบว่า ประกอบด้วย  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียนเอกชน การกำหนดกลยุทธ์  การควบคุมและประเมินกลยุทธ์ การพัฒนาภาวะผู้นำ และการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และ ด้านการประเมินกลยุทธ์การเสริมสร้างกรอบคิดแบบเติบโตของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี พบว่า มีความเป็นไปได้และเหมาะสม

Article Details

How to Cite
ปรีชาจารย์ ษ., พัฒนกุลชัย ว., & ศรีชมพู ว. (2023). แนวทางการพัฒนากรอบคิดแบบเติบโตของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 205–222. https://doi.org/10.14456/jappm.2023.14
บท
บทความวิชาการ

References

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). ร่างสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำองค์กรยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2564, จาก https://www.thaiedreform.org/news/2415/

พสุ เดชะรินทร์. (2548). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ .(2542). นโยบายผลิตภัณฑ์และราคา. กรุงเทพฯ: ธนรัช.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2547). การจัดซื้อ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Alonso, J. G. (2002). Learning Communities: When learning in common means school success forall. Mct-Stoke On Trent, 20(2), 13-17.

Barth, R. S. (2000). Building a Community of Learners. Principal, 79(4), 68-69.

Bielaczyc, K. & Collins, A. (2009). Learning Communities in Classrooms: A Reconceptualizationof Educational Practice. Retrieved November 2018, from http://isites.harvard.edu/fs/docs/icb.topic 541040.files/Bielaczyc%20and%20Collins-Learning%20Communities%20 in%20Classrooms.pdf

Brown, B. C. (2013). The future of leadership for conscious capitalism (A whitepaper). Sebastopol, CA: MetaIntegral Associates.

Dimock, B.V. & Hord, S.M. (1994). Schools as learning communities. Retrieved November 2018, from http://sedl.org/changes/issues/issues31.html