การเสริมสร้างความสมานฉันท์กับการแก้ไขวิกฤตความขัดแย้ง ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาสาเหตุความขัดแย้งใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ในอดีตและปัจจุบัน เพื่อศึกษาความขัดแย้งที่เครือข่ายบุคคลได้รับผลกระทบในปัจจุบันและเพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความสมานฉันท์ ระเบียบวิธีการวิจัยการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.การวิจัยเอกสาร เป็นการศึกษาจากงานวิจัยของนักวิชาการ เอกสารทางราชการ ข้อมูลบันทึกของหน่วยงาน
2. การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา ประชาชนดั้งเดิมในพื้นที่ ข้าราชการ และพ่อค้า แม่ค้า เจ้าของธุรกิจภาคเอกชนชน เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้าง เป็นคำถามปลายเปิดมีจัดเตรียมชุดคำถามและวิธีการสัมภาษณ์แบบยืดหยุ่นบรรยากาศเป็นกันเองจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 45 คน 3. การสำรวจทัศนะของประชาชนโดยกระจายไปตามระดับพื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และวิเคราะห์ค่าร้อยละ กลุ่มตัวอย่าง 150 คน
ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1.ความขัดแย้งในอดีตประชากรส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายการบริหารของรัฐบาลที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ไม่ได้ให้ความสำคัญกับประชาชนในการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายของรัฐบาล และขาดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในระดับท้องถิ่น สาเหตุความขัดแย้งในปัจจุบันเกิดมาจากปัญหายาเสพติด และผลประโยชน์ของนักการเมือง 2.ประชากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ระดับความขัดแย้งได้รับผลกระทบเป็นระดับพื้นฐานทางสังคม ในลักษณะการเกิดความกลัว ความไม่ไว้วางใจกับคนต่างถิ่น ความไม่ปลอดภัยในชีวิต การใช้ชีวิตประจำวันมีความหวาดระแวงซึ่งกัน 3. แนวทางการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในการแก้ไขวิกฤตความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ให้ใช้แนวทางการส่งเสริมความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ควบคู่กับแนวทางการส่งส่งเสริมคุณภาพชีวิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2549). ความรุนแรงกับการจัดการ “ความจริง”: ปัตตานีในรอบ กึ่งศตวรรษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พลเดช ปิ่นประทีป. (2547). ศานติธรรมรวมใจดับไฟใต้ด้วยปัญญา. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.
รัตติยา สาและ. (2550). ปตานี ดารุสลาม (มลายู-อิสลาม ปตานี) สู่ความเป็น “จังหวัดปัตตานี” ใน ศรีวิชัยเก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม. ฉบับพิเศษ (หน้า 236-250). กรุงเทพฯ: มติชน
รุ่ง แก้วแดง. (2548). สงคราม และสันติสุข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. (2556). ความจริงที่คุณไม่อยากฟัง: ความขัดแย้งที่รุนแรงในชายแดนใต้/ปาตานีกับทศวรรษของความเป็นจริงที่สับสนกดดันและการหาทางออกอันไม่แน่นอน. ปัตตานี: ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้.
สุรชาติ บำรุงสุข.(2550).ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุริยะ สุนิวา. (2550). ชาวมลายูมุสลิมกับสิทธิเสรีภาพ: ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา: มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา.
เสาวลักษณ์ กิตติประภัสร์ และคณะ. (2549). แนวทางด้านนโยบายของรัฐสู่การปฏิบัติกับการแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนานโยบายสาธารณะ.
อัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์. (2551). สภาพข้อเท็จจริงของปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
อาคม ใจแก้ว. (2550). รูปแบบบริหารใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อุทัย ดุลยเกษม และคณะ. (2550). นโยบายของรัฐและการนำนโยบายของรัฐสู่การปฏิบัติกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.