การเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

Main Article Content

ประสงค์ โตนด
สุเชาว์น มีหนองหว้า
รัชยา ภักดีจิตต์
ฐิติมา โห้ลำยอง

บทคัดย่อ

การศึกษางานวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาความเป็นพลเมืองของนักศึกษาในระบอบประชาธิปไตย (2) เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากปัญหาความเป็นพลเมือง (3) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะในความเป็นพลเมืองของนักศึกษา โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร ซึ่งเป็นการศึกษาจากงานวิจัยของนักวิชาการ เอกสารทางราชการ
และข้อมูลบันทึกของหน่วยงาน การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการสัมภาษณ์นักศึกษา 5 คณะประกอบด้วย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะครุศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีการเกษตร ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้าง เป็นคำถามปลายเปิดมีจัดเตรียมชุดคำถาม และวิธีการสัมภาษณ์แบบยืดหยุ่นบรรยากาศเป็นกันเองเหมือนการใช้ชีวิตประจำวัน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 45 คน เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาความเป็นพลเมืองของนักศึกษาในระบอบประชาธิปไตยนักศึกษาจะให้ความสำคัญในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมมากที่สุด เพราะว่า ผลประโยชน์ของสังคมเป็นผลประโยชน์ของสาธารณะที่ทุกคนในสังคมเป็นเจ้าของร่วมกัน และไม่มีใครที่สามารถแสดงเป็นกรรมสิทธิ์เพียงคนเดียวได้ แต่ทุกคนต้องช่วยกันปกป้อง รักษาร่วมกันผลประโยชน์ของสาธารณะให้คงอยู่อย่างยั่งยืน และควรให้ภาครัฐดำเนินการทางกฎหมายผู้ที่ทำลายผลประโยชน์สาธารณะโดยเด็ดขาด
2. นักศึกษาให้ความสำคัญผลกระทบที่เกิดจากปัญหาความเป็นพลเมืองต่อบุคคลมากที่สุด เพราะว่า ในสังคมที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยทุกคนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งกฎหมายให้การรับรองและคุ้มครองในการแสดงออกในด้านสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล แต่ต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย และถ้าบุคคลใดไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหายบุคคลนั้นสามารถไปฟ้องร้องให้ภาครัฐใช้กฎหมายมาลงโทษบุคคลนั้นได้
3. นักศึกษาให้ความสำคัญแนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะความเป็นพลเมืองในด้านจิตสำนึกเกี่ยวกับคุณธรรมมากที่สุด เพราะว่าความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบต่อตนเองเป็นเรื่องที่สำคัญต่อบุคคลในการปฏิบัติงาน การดำเนินชีวิตประจำวันที่จะก่อให้เกิดคุณธรรม และจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุคคลอื่นนำไปปฏิบัติที่จะช่วยให้สังคมส่วนรวมมีความเจริญก้าวหน้ารวมทั้งการพัฒนาประเทศสามารถนำไปสู่เป้าหมายให้สำเร็จได้

Article Details

How to Cite
โตนด ป., มีหนองหว้า ส., ภักดีจิตต์ ร., & โห้ลำยอง ฐ. (2022). การเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 63–77. https://doi.org/10.14456/jappm.2022.20
บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา นิทัศน์พัฒนา และคณะ. (2551). จิตสํานึกทางสังคมของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). นวัตกรรมการเรียนรู้ในสังคมที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: นักวิชาการอาวุโสมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อพัฒนา.

กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ. (2551). ความขัดแย้งและการวิวาทในสื่อสังคมของวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชาย โพธิสิตา. (2552). การวิจัยเชิงคุณภาพ หลักการและแนวคิด. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชาย โพธิสิตา และคณะ (2554). รายงานการวิจัยเรื่อง จิตสำนึกสาธารณะสมบัติ: กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ และคณะ. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสำนึกและพฤติกรรมการรักษาแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นทรัพย์สินส่วนรวม (รายงานการวิจัย). คณะรัฐศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ (2553). ทฤษฎีไร้ระเบียบกับทางแพร่งของสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อุดปัญญา.

ธนพรรณ ธานี. (2549). การศึกษาชุมชน. ขอนแก่น: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2554). จิตสำนึกประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2554). จิตสำในการสร้างงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มานิต มานิตเจริญ. (2552). จิตสำนึกทางสังคมระดับบัณฑิตศึกษา. กรุงเทพฯ: เอกศิลปะการพิมพ์.

รุ่งรัตน์ เพ็งสวย. (2550). ปัญหาองค์กร. กรุงเทพฯ: มติชน.

วิรัตน์ คาศรีจันทร์. (2554). จิตสำนึกพลเมืองในบริบทประชาสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2554). คุณลักษณะพลเมืองดี. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

ศรีประภา เพชรมีศรี. (2554). จิตสำนึกแห่งวิญญูชน. กรุงเทพฯ: โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศูนย์เครือข่ายองค์ความรู้สาธารณะด้านการจัดการทุนมนุษย์. (2558). โครงการปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิดให้แก่นักเรียนทุนรัฐบาล 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชพลเรือน.

สยามรัฐ เรืองนาม. (2552). จิตสำนึกทางสังคมของนักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2555). รูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.กรุงเทพฯ: สำนักงานวิจัยแห่งชาติ.

สุดจิต นิมิตกุล. (2558). กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดีในการปกครองที่ดี (Good Governance). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

อริสา สุขสม. (2555). การพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเพื่อชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Banks, C. A. M. (2004). Improving multicultural education: Lessons from the intergroup education movement. New York: Teachers College Press.

Hahn, L. (1999). Citizenship education: An empirical study of policy, practices and outcome. Oxford Review of Education, 25, 231–250.

Hua, C. W. & Wan, K. E., (2011). Civic Mindedness: Components Correlates and Implications for of Public Service, Online Available: http: //www.cscollege.gov.sg/Knowledge.

Smart, D., S. Volet, et al. (2000). Fostering Social Cohesion in Universities: Bridging the Cultural Divide. Canberra, Department of Education Training and Youth Affairs.

Thomson D.M. (1972). Context effects in recognition memory Journal of verbal Behavior, 11, 324-332.

Turner, C. S. V. (2000). New faces, new knowledge: As women and minorities join the faculty, they Bring intellectual diversity in pedagogy and in scholarship. Academe, 86(5), 34–37.