ศักยภาพในการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเทศบาลนครยะลาตามแนวทาง “การบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี” บนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาล

Main Article Content

วัฒนา นนทชิต
อำนวย บุญรัตนไมตรี
เนตชนก สูนาสวน
กัณณ์ศศิชา เนาว์เย็นผล
ขนิษฐา แก้วกูล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการของหน่วยงานที่ดี ได้แก่ 1) ศึกษาแนวความคิดการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี โดยมุ่งวิเคราะห์แนวคิดตามหลักธรรมาภิบาล 2) ศึกษาศักยภาพการบูรณาการความสัมพันธ์ของแนวความคิดการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดีกับการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ของเทศบาลนครยะลา การบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดีตามแนวคิดหลักธรรมาภิบาลนั้น มีหลักการที่สำคัญเพื่อที่จะปรับปรุงการบริหารราชการของไทยให้ทันสมัย โดยการอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อเหตุผลสำคัญในการตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ได้มากขึ้น สำหรับประเทศไทยนั้นมีกฎและข้อบังคับ ที่นำมาเป็นข้อปฏิบัติใช้กันจนถึงปัจจุบันตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546


ผลจากการศึกษาวิเคราะห์หน่วยงานเทศบาลนครยะลา พบว่า เทศบาลนครยะลาเป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ในการจัดการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ 3R (Restructure Repositioning Reimage) มุ่งสู่เป้าหมาย 6C (Cleanliness Collaboration Connectivity Culture Competitive Comfort) ซึ่งทำให้หน่วยงานมีผลการปฏิบัติงานที่โดดเด่น เป็นที่ยอมรับและพึงพอใจของประชาชน การปฏิบัติงานที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล เทศบาลนครยะลาจึงผ่านการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment : LPA) และได้รับรางวัลการันตีคุณภาพมากมาย

Article Details

How to Cite
นนทชิต ว. ., บุญรัตนไมตรี อ., สูนาสวน เ., เนาว์เย็นผล ก., & แก้วกูล ข. (2022). ศักยภาพในการจัดการเชิงกลยุทธ์ของเทศบาลนครยะลาตามแนวทาง “การบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี” บนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาล. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 78–90. https://doi.org/10.14456/jappm.2022.21
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2556). คู่มือหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.

เทศบาลนครยะลา. (2561). รายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของนายกเทศมนตรีนครยะลา ประจำปี 2561. ยะลา: เทศบาลนครยะลา.

Bhatta, G. (2006). International Dictionary of Public Management and Governance. New York: Politics & International Relations.

Imrie, R. and Raco, M. (1999). How New is the New Local Governance?. Lessons from the United Kingdom. Transactions of the Institute of British Geographers, 24(1), 45-63.

Shah, A. (2006). Intergovernmental Fiscal Transfers: Principal and Practice. Washington, DC: World Bank Publications.

Thomas, G.W. (2000). Governance, Good Governance and Global Governance: Conceptual and Actual Challenges. Third World Quarterly,21(5), 795-814.