การเปรียบเทียบภาวะผู้นำด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของคนเจนเนอเรชั่น ซี

Main Article Content

ฉัตรพร เพ็ชรล้ำ
เพชรรัตน์ วิริยะสืบพงศ์
ศรัญยา แสงลิ้มสุววรณ
ณฤดี พรหมสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องอิทธิพลของภาวะผู้นำที่มีผลต่อความคิดในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของคนเจนเนอเรชั่น ซี: กรณีศึกษา นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของกลุ่มคนเจนเนอเรชั่น ซี 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของกลุ่มคนเจนเนอเรชั่น ซี ประชากรที่ศึกษาคือนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 – 4 ปีการศึกษา 2562 มหาวิทยาลัยบูรพา มีจำนวนประชากร 26,691 คน จึงดำเนินการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีคำนวณขนาดตัวอย่างแบบทราบจำนวนประชากรตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร
ยามาเน่ (Taro Yamane, 1973) โดยกำหนดให้มีความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ไม่เกินร้อยละ 5 จำนวน 413 คน สถิติที่ใช้คือสถิติเชิงพรรณนาหาความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เปอเซ็นไทล์ สถิติเชิงอนุมานคือ One Way ANOVA


ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มคนเจนเนอเรชั่น ซี มีระดับพฤติกรรมรูปแบบภาวะผู้นำแบบมีแนวทางร่วมกัน พฤติกรรมรูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และพฤติกรรมรูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับสูง ประกอบไปด้วย ภาวะผู้นำแบบมีแนวทางร่วมกัน คิดเป็นร้อยละ 3.98 ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ คิดเป็นร้อยละ 3.89 และ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 คิดเป็นร้อยละ 3.82 ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ พบว่า รูปแบบภาวะผู้นำของกลุ่มคนเจนเนอเรชั่น ซี ที่ต่างกันจะมีความคิดในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  

Article Details

How to Cite
เพ็ชรล้ำ ฉ., วิริยะสืบพงศ์ เ., แสงลิ้มสุววรณ ศ., & พรหมสุวรรณ ณ. (2022). การเปรียบเทียบภาวะผู้นำด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของคนเจนเนอเรชั่น ซี . วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 106–120. https://doi.org/10.14456/jappm.2022.23
บท
บทความวิจัย

References

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาสถานศึกษาอาชีวศึกษา (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฉัตรพร เพ็ชรล้ำ และคณะ. (2565). อิทธิพลของภาวะผู้นำที่มีผลต่อความคิดในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของคนเจนเนอเรชั่น ซี: กรณีศึกษา นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร, 1(1), 32-43.

มันทนา กองเงิน. (2554). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พนิดา ไชยแก้ว. (2559). อิทธิพลภาวะผู้นำของ generation Y ต่อความสำเร็จทางธุรกิจ: กรณีศึกษา ผู้ประกอบการกลุ่ม generation Y ในประเทศไทย (การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร ศรุตาพร. (2554). คู่มือวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ: เบสบุ๊ค.

วฤตดา วรอาคม. (2557). 5 อินไซต์เจเนอเรชั่นซี. กรุงเทพธุรกิจ. วันที่ 7 กรกฏาคม 2557.

อะห์มัด ยี่สุ่นทรง และรอซียะห์ ลาเต๊ะ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2564, จาก https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12271

อารี รังสินันท์. (2532). ความคิดสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

สิทธิชัย ชมพูพาทย์. (2554). การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของครูและนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารพิเศษทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยปฏิบัติเชิงวิพากษ์ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bernadette Dillon & Juliet Bourke. (2016). The Six Signature Traits of Inclusive Leadership: Thriving in a diverse new world. Deloitte University: Deloitte University Press.

Brand Buffet. (2019). 7 อินไซต์ เข้าใจ GEN Z พร้อมกลยุทธ์เจาะกระเป๋ากลุ่มกำลังซื้อใหม่ ที่แค่เร็วไม่พอ นาทีนี้ต้อง “ด่วน” เท่านั้น. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2564, จาก https://www.brandbuffet.in.th /2019/05/7-insights-gen-z-for-marketing/

Daniel Burrus. (2016). Gen Z Will Change your world Again. Retrieved June 11, 2021, from https://www.linkedin.com/pulse/gen-z-change-your-world-again-daniel burrus?articleId=916 3029968568630812

De Bono. (1970).Lateral Thinking: Creativity Step by Step. Retrieved May 25, 2021, from https://www.johnljerz.com/superduper/tlxdownloadsiteMAIN/id965.html

Guiford, J.P. (1971). The nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill.

Guiford, J.P. (1980). Cognitive Styles : What are they?. Journal of Educational and Psychological Measurement, 40, 715-735.

Ireland, R. D., & Hitt, M. A. (1999). Achieving and maintaining strategic competitiveness in the 21st century: The role of strategic leadership. Academy of Management Perspectives, 13(1), 43-57.

Isaksen, S. G. (2011). The Creative Climate: A Leadership Lever for Innovation. Journal of Creative Behavior,45, 26-27.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Osborn, A.F. (1966). Warao I: Phonology and morphophonemics. International Journal of American Linguistics, 32, 108–123.

Torrance, E.P. (1974). Torrance Tests of Creative Thinking. New Jersey: Personnel Press.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.