อนาคตภาพของรูปแบบการบริหารการทดสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในทศวรรษหน้า

Main Article Content

ทนง ทองภูเบศร์
ประกอบ คุณารักษ์
วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์
กิจพิณิฐ อุสาโห
ปองสิน วิเศษศิริ
วิภาดา พูลศักดิ์วรสาร
วีระกุล อรัณยะนาค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอนาคตภาพของรูปแบบการบริหารการทดสอบในทศวรรษหน้า เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ประกอบด้วย 1) ผู้ที่มีอำนาจโดยตรงและโดยอ้อมในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการประเมินผลทางการศึกษาและทดสอบทางการศึกษา 2) ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานสนองตอบนโยบายเกี่ยวกับการประเมินผลทางการศึกษาและทดสอบทางการศึกษา 3) ผู้ที่เป็นนักวิชาการเกี่ยวกับการประเมินผลทางการศึกษาและทดสอบทางการศึกษา และ 4) ผู้ที่เป็นผู้ใช้ผลผลิตทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ข้อคำถามเพื่อการสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และพิสัยควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า อนาคตภาพของรูปแบบการบริหารการทดสอบในทศวรรษหน้า ประกอบด้วย แนวคิด องค์ประกอบ แนวโน้ม กระบวนการ ปัจจัย
และเงื่อนไขของรูปแบบการบริหารการทดสอบ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้เพื่อการบริหารการทดสอบ โดยเริ่มจากการตระหนักถึงความท้าทายของการศึกษาในภาวะที่โลกปัจจุบันมีการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ ๆ กำลังเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เปลี่ยนวิธีคิดของผู้เรียนต่อการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง อย่างเป็นพลวัต ด้วยการเชื่อมโยงองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ เข้ากันอย่างเป็นระบบ คือ เป้าหมายการประเมิน ความท้าทาย ผลลัพธ์การเรียนรู้ นโยบายการประเมิน และทันโลกอย่างพลวัตร โดยที่ทุกองค์ประกอบจะโยงสัมพันธ์ถึงกันและเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เพื่อนำไปสู่มโนทัศน์การบริหารการทดสอบที่สนองตอบความเป็นพลวัต นั่นคือ สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่าง ๆ ได้ตลอดเวลาเพื่อให้ได้ระดับที่ดีกว่า ของคุณลักษณะสำคัญทั้งการคิดวิเคราะห์ดีกว่า มาตรฐานสูงกว่า การพัฒนาอย่างต่อเนื่องกว่า และความเป็นเลิศกว่าของผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตยากร ลดาวัลย์. (2563). การจัดการศึกษาท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(4), 209-216.

จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2551). การวิจัยอนาคต. วารสารสมาคมนักวิจัยในความอุปถัมภ์ของสภาวิจัยแห่งชาติ, 13(2), 9-13.

ชูกิจ ลิมปิจำนงค์. (2564). ครูยุคใหม่สู่การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ” สิ่งจำเป็นที่ต้องมี. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.ipst.ac.th/news/12598/teacher_ipst.html

ตะวัน ไชยวรรณ และ กุลธิดา นุกูลธรรม. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน: การเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความรู้ของผู้เรียนในโลกแห่งความจริง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 251-263.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ผลการประเมิน PISA 2015 บอกอะไรถึงระดับนโยบาย. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2564, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2017-14/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2564, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/ pisa2018-fullreport/

สมิต สัชฌุกร. (2550). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สายธาร.

สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์. (2557). การนําผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เป็นกลไกในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนแบบครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.

อานนท์ ไชยฮั่ง. (2564). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมของนักเรียนโรงเรียนสารภีพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(8), 493-504.

Brown, W. B. & Moberg, D. J. (1980). Organization theory and management : A macro approach.New York: John Wiley & Sons.

Keeves, J.P. (1997). Models and model building. In Keeves, J.P. (ed.). Educational research, methodology and measurement : An International Handbook. 2nd ed., Oxford : Peraman Press.

Kirsten W. J. Touw, Bart Vogelaar, Merel Bakker and Wilma C. M. Resing. (2019). Using electronic technology in the dynamic testing of young primary school children: predicting school achievement. Educational Technology Research and Development, 67(3), 443-465.

Madani, R. A., (2019). Analysis of Educational Quality, a Goal of Education for All Policy. Higher Education Studies, 9(1), 100-109.

OECD. (2016). PISA 2015 Results (Volume I): Excellence and Equity in Education. PISA, OECD Publishing, Paris.