การพัฒนาชุดการสอนรายวิชาหัวข้อพิเศษด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบผสมผสาน

Main Article Content

เฉลิมพล มีชัย
วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย
เนตรชนก สูนาสวน
นวลใย นิลบรรพ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนรายวิชาหัวข้อพิเศษด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบผสมผสาน (2) เพื่อวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนรายวิชาหัวข้อพิเศษด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบผสมผสานและ (3) เพื่อเพื่อประเมินประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับชุดการสอนรายวิชาหัวข้อพิเศษด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบผสมผสาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิด
การเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 58 คน ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุดการสอนรายวิชาหัวข้อพิเศษด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษา จำนวน 5 หน่วยการสอน
(2) บทเรียนออนไลน์ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่า EI


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ด้านประสิทธิภาพชุดการสอนรายวิชาหัวข้อพิเศษด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบผสมผสานเท่ากับ 81.54/82.76

  2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนรายวิชาหัวข้อพิเศษด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบผสมผสานเท่ากับ 0.8647 และนักศึกษามีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 86.47

  3. ด้านความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับชุดการสอนรายวิชาหัวข้อพิเศษด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบผสมผสานอยู่ในในระดับมาก

ข้อค้นพบจากงานวิจัย คือ การจัดการศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบผสมผสานช่วยเพิ่มสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ท้าทายและเชื่อมความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมในการศึกษาโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญ ขำวารี. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนปฏิบัติวิชา งานส่งกำลังรถยนต์ด้วยชุดการสอน เรื่องงานเกียร์รถยนต์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสดาดี้ (SDADE Model). วารสารวิชาการเทพสตรี I-TECH, 14(2), 136-152.

เฉลิม จักรชุม.(2559) . การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(2), 129-143.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน และคณะ. (2564). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านหลักสูตรศาสตร์การสอนการสอนและเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 271-287.

ทิพย์ธิดา บุตรฉุย และพัทธนันท์ บุตรฉุย. (2564). การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา.วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 16(20), 74-91.

ธีระศักดิ์ เกียงขวา. (2556). ผลการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบผสมผสานเรื่องหลักการใช้สื่อการเรียนการสอนที่มีต่อการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรีที่มีการรู้คอมพิวเตอร์และการนําการเรียนด้วยตนเองต่างกัน. วารสารมนุษศาสตร์สังคมศาสตร์, 7(2), 105-112.

นัยนา ฉายวงศ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการวิจัยในชั้นเรียน ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(1),17-26.

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2554). การเรียนรู้แบบผสมผสานจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 1(2), 43-49.

พรรณรัมภา ยิ่งเฮง. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ ตามแนวคิดจินตวิศวกรรม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(3), 208-221.

ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้เรียนโดยใช้นวัตกรรมสื่อการสอน Read Learn Run (RLR) เป็นฐานในการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อที่พัฒนาการศึกษาไปสู่ Thailand 4.0. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร, 8(1), 279-294

ยุวดี อยู่สบาย. (2563). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการศรีปทุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 16(4), 133-141.

สัมฤทธิ์ เสนกาศ. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุทธิพร แท่นทอง. (2563). ทฤษฎีและการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล: ทฤษฎีเชื่อมโยงความรู้และการเรียนรู้แบบผสมผสาน. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย, 14(1). หน้า 79-93.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม และคณะ. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 42(พิเศษ), 129-140.

Allen. I. E. and Seaman. J. (2007). Growing by Degrees: Online education in the United States, The Sloan Consortium. Retrieved October 6, 2020, from http://www.sloan-c.org/publications/df/ growing_by_degrees.pdf

Bernath, R. (2012). Effectives Approaches to Blended Learning for Independent Schools. Retrieved October 6, 2020, from http://www.testden.com/partner/blended%20learn.html

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Graham. C.R. (2012). Introduction to Blended Learning. Retrieved October 10, 2020, from http://www.media.wiley.com/product_data/except/86/C.pdf

Mezirow, J. (1981). A critical theory of adult learning and education. Adult Education Quarterly, 32(1),3-24.