แนวทางการป้องกันและการแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชั่นตามทัศนะของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชัยณรงค์ สิริพรปรีดา
เนตรชนก สูนาสวน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการทุจริตคอร์รัปชั่น 2) วิเคราะห์สภาพการป้องกันและการแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชั่น และ 3) แนวทางการป้องกันและแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชั่นตามทัศนะของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูล 40 คน เป็นการสัมภาษณ์แบบ กึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก นำข้อมูลตรวจสอบอีกครั้งด้วยการตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1. วิธีการทุจริตคอร์รัปชั่นตามทัศนะของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 7 วิธีได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้าง การกินตามน้ำหรือปิดหูปิดตา การเข้าสู่ตำแหน่งหน้าที่การงานหรือการสมัคร เข้าทำงาน การรับสินบาทคาดสินบน การประมูลโครงการ (การฮั้วกัน) การรับค่าคอมมิชชั่น และระบบอุปถัมภ์หรือระบบพวกพ้อง แต่ละวิธีต่างมีการทุจริตคอร์รัปชั่นแตกต่างกันไป
2. สภาพการป้องกันและการแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชั่นตามทัศนะของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร หน่วยงานได้ทำการป้องกันและแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยการตั้งกรรมการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างที่มีมาตรการเคร่งครัดและถูกต้อง การรับบุคคลเข้าทำงานได้ผ่านการสอบกลั่นกรองด้วยความยุติธรรมและเป็นกลางไม่มีระบบอุปถัมภ์หรือระบบพวกพ้อง วิธีการป้องกันการประมูลโครงการ (การฮั้วกัน) โดยใช้ E-auction
3. แนวทางการป้องกันและแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชั่นตามทัศนะของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ฝ่ายบริหารควรยึดระเบียบราชการอย่างเคร่งครัดตามหลักธรรมาภิบาลควรรวมกลุ่มหรือตั้งชมรมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ตั้งแต่หมู่บ้านจนถึงระดับประเทศ และควรสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น: ปัญหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ถึงระดับอุดมศึกษา

Article Details

How to Cite
สิริพรปรีดา ช., & สูนาสวน เ. (2022). แนวทางการป้องกันและการแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชั่นตามทัศนะของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 18–30. https://doi.org/10.14456/jappm.2022.17
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ วงศ์วิเศษธร. (2561). การทุจริตคอร์รัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2565, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title

กัณทิมา แสงรอด. (2553). แนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลขอนแก่น (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดวงหทัย อินทะชัย. (2553). กระบวนการทุจริตคอร์รัปชั่นในการบรรจุและแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ปิยะธิดา อภัยภักดิ์. (2561). แนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นในหน่วยงานภาครัฐ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 13(1), 1-12.

รัตพงษ์ สอนสุภาพ. (2557). มาตรการป้องกันการคอร์รัปชั่นการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ. ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 117 กันยายน ตุลาคม 2557, 6.

วันเพ็ญ สุขประเสริฐ และศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน. (2561). แนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2560 (ฉบับใหม่) ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร (ฉบับภาษาไทย) สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 3186-3206.

ศาสนะ ประทาน. (2554). การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดควาย อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). CIA World Fact Book. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2564, จาก กระทรวงแรงงาน บริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20210201184051.pdf

สุทธิรัตน์ อ่อนเที่ยง. (2544). คอร์รัปชั่นในระบบราชการไทย : ศึกษากรณีกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.