การส่งเสริมรากฐานการเรียนรู้: ก้าวย่างที่สำคัญจากปฐมวัยสู่ประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวิธีการจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมการเรียนรู้จากช่วงปฐมวัย เนื่องจากเป็นวัยเริ่มต้นของพัฒนาการด้านต่าง ๆ การจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการรอบด้าน ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ที่ดีถือเป็นการวางรากฐานสำคัญในการเตรียมความพร้อมต่อการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้ก่อนที่จะก้าวสู่วัยประถมศึกษาต่อไป จากการศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเด็กวัยประถมศึกษา ซึ่งนอกจากจะเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการเรียนรู้ในระดับชั้นที่สูงขึ้นแล้วนั้น การส่งเสริมรากฐานการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยยังเป็นพื้นฐานในการสร้างการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตอีกด้วย และเมื่อเด็กวัยนี้ได้รับการเตรียมตัวหรือวางพื้นฐานด้านพัฒนาการไว้ดีและเหมาะสมแล้ว ยังสามารถจัดการเรียนรู้ที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง จัดกิจกรรมที่หลากหลาย เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมหรือทำงานเป็นกลุ่ม และเกิดประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้สถานที่จริง จากสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม การมีวินัยในตนเอง เป็นการฝึกให้เด็กได้รู้จักพึ่งพาตนเองตามวัย รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมที่จูงใจให้เด็กเกิดการเรียนรู้ มีจินตนาการที่ดี ช่วยให้เด็กพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพแล้ว ยังเป็นการวางรากฐานชีวิตที่มั่นคงให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลชา ลี้ไพโรจน์กุล. (2555). สภาพปัญหาและการดำเนินงานของโรงเรียนต่อการศึกษาระดับอนุบาลกับการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จินดา น้าเจริญ และอภิญญา มนูญศิลป์. (2562). ครูปฐมวัยกับการพัฒนาเด็กตามศาสตร์พระราชา. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(3), 211-221.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: วีพรินทร์ (1991).
ญาณิศา บุญพิมพ์. (2552). การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมประกอบอาหารประเภทขนมไทย (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยศวีร์ สายฟ้า. (2557). รอยเชื่อมต่อการเรียนรู้ระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและประถมศึกษา: ก้าวย่างที่สำคัญของเด็กประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์,42(3), 143-159.
วีรยา วงษาพรหม. (2550). ของเล่นและการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ,12(23), 78-90.
ศศิพันธุ์ เปี๊ยนเปี่ยมสิน และคณะ. (2561). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.