กลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยววัฒนธรรมไท-ยวน ของกาดฮิมน้ำพระยาทด ตำบลพระยาทด อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

นฤมลวรรณ สุขไมตรี
เยาวนาถ บางศรี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมการตลาดเพื่อการท่องเที่ยววัฒนธรรม  ไท-ยวนของกาดฮิมน้ำพระยาทด (2) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการตลาดเพื่อการท่องเที่ยววัฒนธรรมไท-ยวนของกาดฮิมน้ำพระยาทด และ (3) เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยววัฒนธรรม
ไท-ยวนของกาดฮิมน้ำพระยาทด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือ กาดฮิมน้ำพระยาทด ตำบล พระยาทด อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 26 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบกำหนดโควต้า ได้แก่ ปราชญ์ชุมชน 1 คน คณะกรรมการตลาดฮิมน้ำพระยาทด 2 คน ตัวแทนผู้ขายสินค้าในตลาด 3 คน และนักท่องเที่ยว 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า (1) กาดฮิมน้ำพระยาทดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่นำเสนอวิถีชีวิตของชาวไท-ยวน สระบุรี สินค้าที่จำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน มีการจัดแสดงศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้าน (2) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่า กาดฮิมน้ำพระยาทดจัดเป็นผู้ท้าชิงทางการตลาด ทำให้เลือกใช้  กลยุทธ์สร้าง ได้แก่ การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อให้มากขึ้น และการสร้างความหลากหลายของสินค้าให้มีเอกลักษณะเฉพาะถิ่น และ (3) กลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยว ประกอบด้วยการพัฒนารูปแบบอาหาร การออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ การแปรรูปสินค้าอาหารท้องถิ่นให้มีอายุการขายยาวนานขึ้น การทำราคาชุด การสร้างบริการที่แตกต่าง และการพัฒนาสื่อการประชาสัมพันธ์และช่องทางการสื่อสาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 – 2564 ของกรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วีไอพี ก็อปปี้ปริ้น.

ขนิษฐา บรมสำลี และ รัฐพล สันสน. (2560). รูปแบบกลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวตลาดน้ำแบบยั่งยืน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), (10)2, 1-22.

จารุณี กมลขันติธร. (2557). กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2551). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

พนิตสุภา ธรรมประมวล. (2563). การตลาดบริการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีพวิ่ง.

พิบูล ทีปะปาล. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ศิริพร ถาวรวิสิทธิ์ และ เสรี วงษ์มณฑา. (2564). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 244–256.

ศิริพร อินโห้. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุทางการตลาดเชิงสัมพันธภาพที่มีอิทธิพลต่อผลการดําเนินงานของธุรกิจตัวแทนจําหน่ายรถยนต์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 16-32.

ศิวธิดา ภูมิวรมุน, เสรี วงษ์มณฑา และ ชุษณะ เตชะคณา. (2562). แนวทางการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 184–201.

สุประภา สมนักพงษ์. (2560). แนวโน้มและตลาดการท่องเที่ยว 4.0 ประเทศไทย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(3), 2055-2068.

สุภาวิณี โบว์สุวรรณ, ภคมน โภคะธีรกุล, วรสิทธิ์ เจริญพุฒ และ เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์. (2565). การจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 250–264.

Greedisgoods. (2564). BCG Matrix คืออะไร? เครื่องมือวิเคราะห์หน่วยธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2564, จาก https://greedisgoods.com/bcg-matrix-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

Moneywecan. (2563).SWOT Analysis คืออะไร.สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564, จาก https://www.moneywecan.com/swot-analysis/