การพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์แบบร้านหน้าฟาร์ม ของสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด

Main Article Content

สุนิสา มามาก
สุรีรัตน์ เยี่ยมตระกูล
อังคเณ บุญเกิด

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์แบบร้านหน้าฟาร์มของสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) นมสดรสกาแฟ 2) นมสดรสช็อกโกแลต 3) นมสดรสสับปะรด 4) นมสดรสชาเขียว และ 5) โยเกิร์ต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 132 คน


ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 69 คน มีช่วงอายุระหว่าง 26-35 ปี จำนวน 53 คน มีวุฒิการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส.จำนวน 55 คน ประกอบอาชีพรับราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจเกษตรกร และนักท่องเที่ยว มีจำนวนเท่า ๆ กัน 33 คน พบว่า การยอมรับของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มโดยรวมทุกผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า นมสดรสช็อกโกแลตให้การยอมรับมากที่สุด รองลงมาคือ นมสดรสกาแฟ โยเกิร์ต นมสดรสสับปะรด และนมสดรสชาเขียว ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาการยอมรับเป็นรายด้านของผลิตภัณฑ์ 5 ผลิตภัณฑ์ พบว่า นมสดรสช็อกโกแลตให้การยอมรับมากที่สุดในด้านสีของผลิตภัณฑ์ นมสดรสกาแฟ
นมสดรสสับปะรด และโยเกิร์ตให้การยอมรับมากที่สุดในด้านรสชาติของผลิตภัณฑ์ ส่วนนมสดรสชาเขียวให้การยอมรับมากที่สุดในด้านกลิ่นของผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิระเดช มณีรัตน์. (2553). การเปรียบเทียบคุณภาพของการผลิตโยเกิร์ตจากน้ำนมแพะผสมน้ำนมโค.ปทุมธานี : คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์อุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2553). มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.6003-2553 น้ำนมโคดิบ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

รวมพร เลี่ยมแก้ว และเพ็ญขวัญ ชมปรีดา. (2561). การทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสของเครื่องดื่มน้ำนมข้าวโพดผสมธัญพืช. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 7(1),82-91.

ศิริญา วันต๊ะ อรอุษา จันทร์กลิ่น และปราณี เลิศแก้ว. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มนมถั่วมะแฮะผสมน้ำใบเตย. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2, 548-555.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การบริหารการตลาดแนวใหม่. กรุงเทพฯ: ธีรฟิล์มและไซแท๊กซ์.

สุนันทา คะเนนอก. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาเปลือกกล้วยน้ำว้าเพื่อสุขภาพ (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2551). ประโยชน์ของนม. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564, จาก http://www.thaihealth.or.th/partner/blog/5265

Black, R.E., Williams, S.M., Jones, I.E. and Goulding, A. (2002) Children Who Avoid Drinking Milk Have Low Dietary Calcium Intakes and Poor Bone Health. American Journal of Clinical Nutrition, 76, 675-680.