การศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการทุนมนุษย์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการทุนมนุษย์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แนวคิด หรือทฤษฎีการจัดการทุนมนุษย์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครและโดยอาศัยแนวคิดการจัดการทุนมนุษย์ การจัดการความรู้ การสร้างความผูกพันต่อองค์กร และผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยโดยผู้วิจัยใช้แนวคิดการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเดลฟายเทคนิคต้องไม่น้อยกว่า 17 คน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาธุรกิจ การบริหารทรัพยากรบุคคล จำนวน 6 คน และผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 22 คน รวมทั้งสิ้น 28 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า1) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้ความสำคัญในการจัดการความรู้ของบุคลากรค่อนข้างน้อยหากแต่สนใจปริมาณจำนวนพนักงานในการผลิตให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า 2) ความผูกพันต่อองค์กรค่อนข้างต่ำโดยสังเกตจากพนักงานมีการเปลี่ยนงาน ลาออก หรือละทิ้งงานค่อนข้างสูง 3) การจัดการทุนมนุษย์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการ และ 4) ผู้ประกอบการยังขาดพี่เลี้ยงในการช่วยเหลือด้านการบริหารธุรกิจและส่วนมากไม่มีแผนการบริหารธุรกิจหรือแผนการบริหารความเสี่ยงรวมทั้งแผนต่อเนื่องทางธุรกิจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธนพร เทียนประเสริฐ. (2560). บทบาทของทุนมนุษย์ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ: การเปรียบเทียบไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 8(1), 27-38.
นงคราญ ด้วงฟู (2559). รายงานการเข้าร่วมโครงการเอพีโอ. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2564, จาก http://www.ftpi.or.th/wpcontent/uploads/2016/09/16IN17WSPKMTop-NongkranD10Aug16.pdf
เฟื่องฟ้า ปัญญา. (2564). วงจรชีวิตระบบพี่เลี้ยงในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งหนึ่ง: กรณีศึกษาระยะยาวเชิงคุณภาพ. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ,13(2),127-150.
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. (2552). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามยุทธศาสตร์องค์การ. สืบค้นเมื่อ 25 มินายน 2564,จาก http://www.pantown.com/board.php?id=15535&area=1&name=board4 &topic=13&action=view
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เครือข่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น.(2548). ความรู้เกี่ยวกับ SMEs เบื้องต้น. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564,จาก http://home.kku.ac.th/uac/sme/smebasic.htm
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). สถานการณ์และองค์ความรู้. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564, จาก https://sme.go.th/th/page.php?modulekey=348
อรวรรณ โรจนวุฒิพงศ์ (2558). อิทธิพลของการจัดการทุนมนุษย์ในฐานะปัจจัยคั่นกลางที่ถ่ายทอดอิทธิพลของ การจัดการความรู้และการจัดการผลงานสู่ผลการดำเนินงานขององค์การ ธุรกิจบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 6(1),52-63.
Armstrong M. (2015). Armstrong's handbook of performance management; and evidence-based guide to delivering high performance. London, United Kingdom of England: Kogan Page Ltd.
Barnard. C.I. (1986). The Functions of the Executive. Cambridge: Harvard University Press.
Bontis, N.(1999). Managing an organizational learning system by aligning stocks and flows of knowledge: An empirical examination of intellectual capital, knowledge and business performance. (Doctoral Dissertation). University of Western Ontario.
Schultz, T.W. (1961). Investment in Human Capital. The American Economic Review, 51(1), 1-17.
Steers, R.M. (1977). Organizational Effective: A Behavioral view. California:goodyearPublishing Company, Inc.