ความรู้ ทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลต่อภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุ

Main Article Content

วรจรรฑญาร์ มงคลดิษฐ์
วิไลลักษณ์ ตียาพันธ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลต่อภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 และ 4 ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ที่ผ่านการเรียนการสอนภาคทฤษฎีวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ และผ่านการฝึกภาคปฏิบัติรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และการพยาบาลผู้สูงอายุ เคยมีประสบการณ์หรือเคยพบเจอผู้ป่วยที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันจำนวน 256 คน  ได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่ายตามโควต้าแต่ละชั้นปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่า CVI เท่ากับ  0.81 ประกอบด้วย 1) แบบวัดความรู้ภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.76 2)แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความรู้ต่อภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 55.47 (gif.latex?\bar{x}= 23.54, S.D = 1.86) และมีทัศนคติต่อภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุในระดับมาก ร้อยละ 32.03  (gif.latex?\bar{x}= 4.36, S.D  = 1.31)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญจนา ปุกคํา, กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์ และ ธารทิพย์ วิเศษธาร. (2562). การประเมินความเป็นไปได้และผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้โปรแกรมการประเมินการป้องกันและการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม.วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, 6(1), 68-86.

เนตรดาว ชัชวาลย์, พัชราภรณ์ อุ่นเตจ๊ะ และ อริสรา อยู่รุ่ง. (2561). บทบาทพยาบาลกับ การดูแลภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก,19(2), 103-110.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). ความรู้. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563, จาก http://www.royin.go.th/dictionary/

ทิพเนตร งามกาละ พรทิพย์ มาลาธรรม และ อรพิชญา ไกรฤทธิ์. (2561). อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่รับไว้ รักษาในโรงพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 24(1), 38-49.

วนาพร เอี่ยมมะ. (2558). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรมโรงพยาบาล ศรีนครินทร์ (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิริมาศ ปิยะวัฒนพงษ์, มยุรี ลี่ทองอิน และสุภาวดี เที่ยงธรรม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ กับพฤติกรรมของพยาบาลในการป้องกันภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุ.ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(3), 281-286.

สุพัตรา อุปนิสากร, อุรา แสงเงิน, ประสบสุข อินทรักษา และทิพมาส ชินวงศ์. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ของพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยภาวะวิกฤต. วารสารเวชบำบัดวิกฤต, 17(2),6-12.

Akechi, T., Okuyama, T., Sagawa, R.& Furukawa,A.T. (2010). Delirium Training Program for Nurses. Psychosomatics, 51(2), 106-111.

American Psychiatric Association. (2000). Psychiatry online. Practice guideline for the treatment of patient with delirium.Retrieved July 10, 2020, from http://psychiatryonline.org/pb/assets/raw/sitewide/practice_guidelines/ guidelines/delirium.pdf

Baker, N. D., Helen, M., Taggart, A. N., & Tillman P. (2015). Delirium: Why Are Nurses Confused?. Medsurg Nursing, 24(1), 1-9.

Eastwood, G.M., Peck L., Bellomo, R., Baldwin, I. and Reade M.C. (2012). A questionnaire survey of critical care nurses’ attitudes to delirium assessment before and after introduction of the CAM-ICU. Australian Critical Care, 25(3), 162–169.

Lee KH, Park ML, Kim GY. (2016). A study of knowledge, recognition and practice about delirium in general hospital nurses. Adv Sci Technol Lett, 122, 56-59.

Sinvani, L., Kozikowski, A., Pekmezaris, R., Akerman, M., & Wolf-Klein, G. (2016). Delirium: A Survey of Healthcare Professionals’ Knowledge, Beliefs, and Practices.Journal of the American Geriatrics Society, 64(12), 297–303.