แนวทางการเพิ่มคุณภาพการให้บริการของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการให้บริการธุรกิจนำเที่ยวไทย
ของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของธุรกิจนำเที่ยวไทยแตกต่างตามปัจจัยคุณลักษณะของบริษัทนำเที่ยว 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการธุรกิจนำเที่ยวมีผลต่อคุณภาพการให้บริการของธุรกิจนำเที่ยวไทย และ 4) เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการเพิ่มคุณภาพการให้บริการของธุรกิจนำเที่ยวไทย ด้วยการวิจัยทั้งเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถามจำนวน 404 บริษัท ใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 1) ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว จำนวน 17 คน 2) ลูกค้าที่เคยใช้บริการบริษัทนำเที่ยวจำนวน 17 คน และสนทนากลุ่มหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ และภาคเอกชนจำนวน 6 คน ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันในการให้บริการธุรกิจนำเที่ยวไทย ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวไทย และนโยบายส่งเสริมคุณภาพการให้บริการ พบว่าหน่วยงานภาครัฐยังมีการออกนโยบายการกำกับ ดูแลสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านทางสมาคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนำเที่ยว และยังขาดการมีส่วนร่วมในบางพื้นที่ 2. คุณภาพการให้บริการของธุรกิจนำเที่ยวไทยแตกต่างตามปัจจัยคุณลักษณะของบริษัทนำเที่ยวในด้าน จำนวนพนักงาน ภูมิภาค และระยะเวลาดำเนินธุรกิจ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัจจัยการบริหารจัดการธุรกิจนำเที่ยว ด้านการชี้นำ และการควบคุมส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของธุรกิจนำเที่ยวไทยโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่ด้านการจัดองค์กรส่งผลต่อความรับผิดชอบต่อคุณภาพการให้บริการของธุรกิจนำเที่ยวไทยโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 4 แนวทางการเพิ่มคุณภาพการให้บริการของธุรกิจนำเที่ยวไทย ประกอบด้วย 1) แนวทางเชิงรุก 2) แนวทางเชิงรับ 3) แนวทางเชิงป้องกัน และ 4) แนวทางเชิงแก้ไข
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานผลข้อมูลตามตัวชี้วัด ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ไฮสปีด เลเชอร์ปริ้นต์.
กองทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์. (2564). ข้อมูลจำนวนผู้ประกอบการนำเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2564, จาก https://www.dot.go.th/pages/
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ฟองจันทร์ หลวงจันทร์ดวง. (2561). ศักยภาพชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สันติ ป่าหวาย, อนันต์ ธรรมชาลัย และสานิต ศิริวิศิษฐ์กุล. (2561). แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(พิเศษ), 127-131.
สิริ ลภัสลดา ปันสาน. (2563). การจัดการท่องเที่ยวชุมชนตามหลักการของบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). บทวิเคราะห์สถานการณ์ MSME สาขาธุรกิจท่องเที่ยวปี 2564 และแนวโน้มปี 2565. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2564, จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20211012232619.pdf
Dalkey, N.& Helmer, O. (1963). An Experimental Application of the Delphi Method to the use of experts. Management Science, 9(3), 458–467.
Aguilar, F.J. (1967). Scanning the business environment. New York: Macmillan.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Allen, L.A. (1958). Management and Organization. New York: McGraw-Hill.
Morgan, D.L.and Scannell, A.U.(1998).Planning Focus Groups: Focus Group kit 2. Thousand Oaks, California: Sage Publications.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. and Berry, L.L.(1988).SERVQUAL: A Multiple-Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 64, 12-40.