การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Main Article Content

ธัชฏ์พงศ์ โชตินันท์โภคิน

บทคัดย่อ

บทความนี้นี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ (1) เพื่อทราบระดับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน


บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1,743 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานด้ายสถิติค่าเอฟ (F-test) โดยวิเคราะห์ความแปรปรวน


ผลการวิจัย (1)ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่าระดับการใช้บุคลากรของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก และ(2) ด้านวิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทิมา ศรีเมือง. (2558). การใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารโรงเรียนภาครัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพรัตน์ เครือชัยสุ. (2550). แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2558, จาก http://www.bcoms.net/temp/lesson12.asp

มนตรี สังข์โต. (2554). สภาพและปัญหาการ ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารงาน โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรรณศร จันทโสลิด.(2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในองค์กรกรณีศึกษา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). เทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2564, จาก https://web.ku.ac.th/schoolnet/f-snet1.htm

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). เทคโนโลยีการเรียนรู้ของไทยในปี 2553. กรุงเทพฯ:

ทีซีคอมมิวนิเคชั่น

แสงอรุณ บัวกนก. (2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษาสงเคราะห์ ภาคเหนือ กลุ่มย่อยที่ 6. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2. วันที่ 22 ธันวาคม 2558 ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

เอกราช เครือศรี. (2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.