บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาพื้นที่ในเขตอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินบทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาพื้นที่ในเขตอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่ออธิบายความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยพฤติกรรมการบริหารที่มีผลต่อบทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาพื้นที่ในเขตอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (3) เพื่อวิเคราะห์การส่งผลของปัจจัยพฤติกรรมการบริหารต่อบทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาพื้นที่ในเขตอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ตัวแทนครัวเรือนที่อยู่ในเขตอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 383 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาพื้นที่ในเขตอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาพื้นที่ อยู่ในระดับมากที่สุด (3)ปัจจัย พฤติกรรมการบริหาร 3 ด้าน คือ ภาวะผู้นำ การสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลต่อบทบาทผู้บริหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และร่วมกันทำนายบทบาทผู้บริหารได้ร้อยละ 80.8
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชลธิชา คงขำ. (2553). ความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของผู้นำท้องถิ่นที่มีต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชน กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลทวีวัฒนา จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ณัฐกรณ์ ฉิมพาลี. (2561). บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นตามทัศนะของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นในเขตอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
เทศบาลเมืองบางบัวทอง. (2557). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี พ.ศ. 2556. นนทบุรี: เทศบาลเมืองบางบัวทอง.
ธรรมรัตน์ มณฑาทิพย์. (2559). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาทีมงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
นนทิพร สาน้อย. (2557). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปภาวดี มนตรีวัต. (2554). การนำนโยบายท้องถิ่นไปปฏิบัติ ในนโยบายแผนและโครงการท้องถิ่น. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์. (2560). ความคิดสร้างสรรค์กับรายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สาริศา เจนเขว้า และเสวียน เจนเขว้า. (2560). การเป็นนักบริหารมืออาชีพในยุคไทยแลนด์ 4.0. Journal of Nakhonratchasima College, 11(3), 267-276.
อภิชัย ชุ่มชื่น. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวทางธรรมชาติชายหาดปากน้ำปราณ เทศบาลตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมฟอร์ด.
อภิชาติ พานสุวรรณ และอดิสร ภู่สาระ. (2562). บทบาทผู้นำในการพัฒนาชุมชนบ้านลาว อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง.วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์,21(1), 53-60.
อำเภอทับสะแก. (2563). แผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ประจวบคีรีขันธ์: คณะกรรมการบริหารงานอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rded. Singapore: Harper International Editor.