ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

สุพาณี สังข์ทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ (1) เพื่อประเมินแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อวิเคราะห์การส่งผลของปัจจัยจูงใจต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (3) เพื่อวิเคราะห์การส่งผลของปัจจัยสุขวิทยาต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (4) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามสถานที่ปฏิบัติงาน และ (5) เพื่อเสนอแนะแนวทางเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 189 คน ได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 7 แห่ง เครื่องมือคือใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เอฟเทสต์ และเชฟเฟ่ ผลการวิจัย (1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอ  บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยจูงใจส่งผลต่อแรงจูงใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ปัจจัยสุขวิทยาส่งผลต่อแรงจูงใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานที่ต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (5) การเสริมสร้างแรงจูงใจทำได้โดยการสร้างความมั่นใจในการทำงาน การฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ทักษะ และการมอบหมายงานที่ท้าทาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี. พริ้น (1991) จำกัด.

ตุลา มหาพุสุธานนท์. (2554). หลักการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: พีเอ็นเค แอนด์ สกายพริ้นติ้ง.

ธนชัย ยมจินดา และคณะ. (2548). การจูงใจ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา องค์การและกาจัดการ หน่วยที่ 9-15. (หน้า 40-88). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปภาวดี มนตรีวัต. (2554). การจูงใจและการสร้างขวัญกาลังใจ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ หน่วยที่ 6. (หน้า 21-22) นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำ การติดต่อสื่อสาร และการจูงใจ. ใน เอกสารการสอนองค์การและการจัดการเชิงกลยุทธ์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พงศ์ หรดาล. (2540). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดบุ๊คส์เซ็นเตอร์.

ยุทธศักดิ์ ชูประเสริฐ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9 (3),52-62.

ราณี อิสิชัยกุล. (2550). การจูงใจบุคลากรในองค์การ ใน การบริหารองค์การ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

ศุภลักษณ์ ตรีสุวรรณ. (2548). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิด และทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.