ความสำเร็จของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา วัดและพระอารามหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อพรรณนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา วัดและพระอารามหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (2) เพื่อระบุปัญหาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา วัดและพระอารามหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการเสริมสร้างการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา วัดและพระอารามหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐและนักท่องเที่ยว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัย (1) การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา วัดและพระอารามหลวง ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ (ก) การส่งเสริมเอกลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรมของท้องถิ่น (ข) การส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น และ (ค) การส่งเสริมวิถีชีวิตชุมชน (2) ปัญหาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา วัดและพระอารามหลวง ประกอบด้วย (ก) การกำหนดป้าหมายไม่มีความชัดเจน (ข) มีอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ภาครัฐไม่เพียงพอ และ (ค) ไม่มีหลักการในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน และ (3) แนวทางในการเสริมสร้างการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา วัดและพระอารามหลวง ประกอบด้วย (ก) ปรับปรุงระบบการกำหนดเป้าหมายเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และตั้งเป้าหมายของแต่ละระยะให้ชัดเจน (ข) หน่วยงานภาครัฐควรจัดหาบุคลากรให้เพียงพอกับภาระงาน และ (ค) หน่วยงานภาครัฐควรจัดอบรมและชี้แจงหลักการตรวจสอบผลการดำเนินงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลชนก จันทร์เกตุ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: ชุมชนเกาะยอจังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2559-2563.
กันตภณ แก้วสง่า. (2556). การจัดการความรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2551). การจัดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ไทยยูเนี่ยนกราฟฟิกส์.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548 ก). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรสแอนด์ดีไซน์.
ประชุม สุวัตถี. (2551). การตลาดในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์
ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์. (2551). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
มาศศุภา นิ่มบุญจาช. (2558). การศึกษาองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีผลต่อความยั่งยืนทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเขาสันหนอกวัว (อุทยานแห่งชาติเขาแหลม).(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีระพล ทองมา และคณะ. (2554). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชุมชนชาวจีนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เสน่ห์ นครสันติภาพ. (2541). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับค่านิยมพื้นฐานของนักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสถียร โกเศศ นาคะประทีป. (2515). ความรู้เรื่องวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-25802561. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.