การกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุ (1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมที่ผู้ต้องขังทำความผิดติดคุกซ้ำ (2) เพื่อเปรียบเทียบการกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน และ (3) เพื่ออธิบายแนวทางการป้องและแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ประกอบด้วยผู้ต้องขังทำซ้ำในเรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 69 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลแสดงเป็นค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Independent sample) และ F-test (One Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
- ผู้ต้องขังที่กระทำความผิดซ้ำในเรืองจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีอายุระหว่าง 26-30 ปี ร้อยละ 53.60 เป็นเพศชาย ร้อยละ 86.96 โสด ร้อยละ 50.70 จบมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 30.40 กระทำความผิดจำนวน 2 ถึง 8 ครั้ง เป็นผู้ติดคุกซ้ำ 2,3,4 และ ครั้งที่ 8 ร้อยละ 56.50,17.40,11.60,4.30 และ 10.1 ตามลำดับ ระยะเวลาต้องโทษจำคุก น้อยกว่า 1 ปี, 1-5 ปี และ ขึ้นไป ร้อยละ 4.30, 60.90 และ 34.70 ตามลำดับ ก่อนต้องโทษประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 71.00 ฐานะทางครอบ ระดับปานกลาง ร้อยละ 72.50 อาศัยอยู่กับบิดา มารดา ร้อยละ 56.50 และอยู่ในหมู่บ้านชนบท ร้อยละ 47.80
- สภาพแวดล้อมการดำรงชีวิตนอกเรือนจำที่ผู้ต้องขังทำความผิดติดคุกซ้ำ 3 อันดับแรก คือ เศรษฐกิจของครัวเรือนมีรายได้ต่ำ รายได้ไม่แน่นอนจากการรับจ้างทั่วไป สภาพทางกายภาพของครอบครัวส่วนใหญ่เป็นโสดอาศัยอยู่กับพ่อแม่และสิ่งแวดล้อมชุมชนที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มการพึ่งพาอาศัยตามรูปแบบดั้งเดิมของชาวชนบทในชุมชนปัจจุบันน้อยลงทั้งชุมชนในชนบทและในเมือง ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทัศนีย์ อมาตกุล. (2548) ทัศนะต่อการฝึกวิชาชีพและสาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ผ่านการฝึกวิชาชีพ(สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านอาชญาวิทยา. (2548). เบื้องหลังชีวิตของอาชญากรมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: บริษัทบพิธการพิมพ์ จำกัด.
ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านอาชญาวิทยา. (2549). เบื้องหลังชีวิตของอาชญากรมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: บริษัทบพิธการพิมพ์ จำกัด.
สุวรรณ ใจคล่องแคล่ว. (2546). สาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษธนบุรี (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์. (2548). เบื้องหลังชีวิตของอาชญากรมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: บริษัทบพิธการพิมพ์ จำกัด.
อุษา คงคลาย. (2538). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
อายุตม์ สินธพพันธ์. (2545). ตัวแบบเรือนจำที่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.