ประสิทธิผลการฝึกวิชาชีพผู้ต้องขังเรือนจำเขากลิ้ง จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินระดับประสิทธิผลฝึกอบรมอาชีพของ ผู้ต้องขังเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง จังหวัดเพชรบุรี (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการนำฝึกอบรมอาชีพของ ผู้ต้องขังเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง จังหวัดเพชรบุรีจำแนกตามลักษณะประชากร (3) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิ์ผลการฝึกอบรมวิชาชีพ กับประสิทธิ์ผลการฝึกอบรมวิชาชีพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ต้องขังชายเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง จำนวน 104 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยหา ค่า เบี่ยงเบนทางเดียวและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิผลฝึกอบรมอาชีพของ ผู้ต้องขังเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง จังหวัดเพชรบุรีอยู่ในระดับมาก (2) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการนำฝึกอบรมอาชีพของ ผู้ต้องขังเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง จังหวัดเพชรบุรีจำแนกตามลักษณะประชากร ด้านการศึกษาและอาชีพ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิ์ผลการฝึกอบรมวิชาชีพ กับประสิทธิ์ผลการฝึกอบรมวิชาชีพ เป็นเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นิมิต ทัพวนานต์. (2561). การพัฒนาแนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังไร้ญาติ. สืบค้นจาก shorturl.asia/Rkxsc.
ศักดินา แก่นแก้ว และมูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง. (2561). การฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขังชาย : กรณีศึกษาเรือนจำกลางปัตตานี หมู่ที่ 8 ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. สืบค้นจาก shorturl.asia/C7Upc.
นฤมนต์ เผ่าเพ็ง. (2541). ปัญหาการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังของเจ้าพนักงานเรือนจำพิเศษพัทยา. สืบค้นจาก shorturl.asia/kKZBJ.
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชญาวิทยาและกระบานการยุติธรรมของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. (2548). ผลกระทบ ที่ผู้ต้องขังได้รับจากการถูกคุมขังเป็นระยะยาว. สืบค้นจาก shorturl.asia/CIGE7.
Thendore, C. (1964). Principles of Organizational. New York : Harcourt.
Attewell, P. (1979). Government Policy and Local Practice. American Sociological Review, 44(2), 311-327.