ประสิทธิผลการนำนโยบายพัฒนาการนำระบบการควบคุมตัวผู้กระทำ ความผิดด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปปฏิบัติ เรือนจำจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

สิทธินันท์ บุญหาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ (1) ประเมินประสิทธิผลการนำนโยบายพัฒนาการนำระบบการควบคุมตัวผู้กระทำ ความผิดด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปปฏิบัติ เรือนจำจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการนำนโยบายพัฒนาการนำระบบการควบคุมตัวผู้กระทำ ความผิดด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปปฏิบัติ เรือนจำจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ จำแนกด้วยลักษณะประชากร (3) อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการนำนโยบายพัฒนาการนำระบบการควบคุมตัวผู้กระทำ ความผิดด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปปฏิบัติ เรือนจำจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์


            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง140คนจากประชากรเจ้าพนักงานเรือนจำประจวบคีรีขันธ์ เจ้าพนักงานทัณฑ์สถาน เจ้าพนักงานและเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสหสัมพันธ์เพียรสัน


            ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) ประเมินประสิทธิผลการนำนโยบายพัฒนาการนำระบบการควบคุมตัวผู้กระทำ ความผิดด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปปฏิบัติ เรือนจำจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระดับมาก (2) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการนำนโยบายพัฒนาการนำระบบการควบคุมตัวผู้กระทำ ความผิดด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปปฏิบัติ เรือนจำจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ จำแนกด้วยลักษณะประชากร (3) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับประสิทธิผลการนำนโยบายพัฒนาการนำระบบการควบคุมตัวผู้กระทำ ความผิดด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปปฏิบัติ เรือนจำจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วาสนา คงสกลทรัพย์. (พฤษภาคม-สิงหาคม 2017). การพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการดําเนินงานของ
เทศบาลนครนครปฐม The Development for Organization Effectiveness of Nakhonpathom
Municipality. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(2) หน้า 142-152.
พลิสา พรกุณา และกฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์. (มกราคม-มิถุนายน 2020). การนำนโยบายประเทศไทย 4.0 ไป
ปฏิบัติ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น. วารสารพุทธศึกษาและวิจัย JBER, 6(1)
หน้า 271-283.
ฐิติพร ดอนโคตรจันทร์ และกฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์. (2019). การนำนโยบายประเทศไทย 4.0 ไปปฏิบัติ
โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดอุดรธานี สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการ
ปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์
และศิลปะ, 12(5), หน้า 304-321.
วรชาติ เกลี้ยงแก้ว. (2558) “การควบคุมผู้กระทำความผิดในชั้นปล่อยชั่วคราวด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์.”
วารสารมหาวิทยาลัยฟาโตนี, 2(62) หน้า 108-109.
นัทธี จิตสว่าง. (2558). “มาตรการทางเลือกในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดเพื่อแก้ปัญหานักโทษล้นคุก” เข้าถึง
ได้จาก: http://www.nathee-chitsawang.com/%, 28 มกราคม 2563.
ปิยะพร ตันณีกุล. (กรกฎาคม–ธันวาคม2559). แนวทางพัฒนาการนำระบบการควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ มา
ใช้กับผู้กระทำผิดในประเทศไทย. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 24,(2) หน้า 121-149.
สุมนทิพย์จิตสว่าง และฐิติยา เพชรมุนี. (2550). รายงานวิจัยเรื่อง โครงการติดตามประเมินผลการนำระบบ
การควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับผู้กระทำผิด. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท
ศรันยา สีมา. (2558). “กำไลอิเล็กทรอนิกส์: อุปกรณ์ควบคุมผู้กระทำความผิด” เข้าถึงได้จาก: https://librar
y2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2559/hi2559-006.pdf, 15 เมษายน 2563.