การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเลือกใช้แอปพลิเคชันซื้อขายหลักทรัพย์

Main Article Content

จริยา มุสิกไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้แอปพลิเคชันซื้อขายหลักทรัพย์ โดยมีกรอบแนวคิดของงานวิจัยประยุกต์จากทฤษฎีแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี วิธีการสำรวจเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 353 คน จากผู้ใช้แอปพลิเคชัน เพื่อตอบแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการถดถอยเชิงเส้นตรง ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้แอปพลิเคชันซื้อขายหลักทรัพย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย บรรทัดฐานจากบุคคลที่ติดต่อด้วย ซึ่งส่งผลต่อบรรทัดฐานทางสังคม ปัจจัยรองลงมาคือ มุมมองว่ามีประโยชน์เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติในการใช้งาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบ Internet ปี 2563. ค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2564, จาก https://www.set.or.th/th/market/securities_company_statistics63.html.

ดิลก ญาณะพันธ์. (2555). ความพึงพอใจและพฤติกรรมการใช้โปรแกรม Streaming ซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุน (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รมย์นลิน นิลสมัย. (2557). การศึกษาความพึงพอใจในการทำธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รมยพร กิติเวียง และสุทธิพงษ์ สุวรรณสาธิต. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีแอพพลิเคชั่นทรูไอดี และเอไอเอสเพลย์. งานประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 (MDTE) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 26 เมษายน 2562.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. New Jersey: Prentice-Hall.

Davis, F. (1989). Perceived Usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3),319--339

Venkatesh, V., & Bala, H. (2008). Technology acceptance model 3 and a research agenda on interventions. Decision Science, 39(2), 273-315.