ผลกระทบจากการทำงานพิเศษนอกเวลาเรียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ในจังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลกระทบจากการทำงานพิเศษนอกเวลาเรียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และตามคุณลักษณะของงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาที่ทำงานพิเศษนอกเวลาเรียน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีโควตา จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลกระทบจากการทำงานพิเศษนอกเวลาเรียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล มีความแตกต่างกันตาม เพศ อายุ ชั้นปี รายได้ผู้ปกครอง ผลการเรียน และสถานที่พัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05 และ 2.ผลกระทบจากการทำงานพิเศษนอกเวลาเรียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามคุณลักษณะของงาน มีความแตกต่างกันตาม ประเภทของงานพิเศษระหว่างเรียน ในกลุ่มเด็กเสิร์ฟ ช่วงเวลาของการทำงานพิเศษระหว่างเรียน ในกลุ่มผู้ที่ทำงานในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และวันธรรมดา และจำนวนชั่วโมงการทำงานพิเศษระหว่างเรียนส่วนใหญ่ ตั้งแต่ 4 ชั่วโมงต่อวัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงแรงงาน. (2562). กรมการจัดหางาน จัดหางานพิเศษสำหรับ นักเรียน นักศึกษา. ค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2562, จาก http://www.mol.go.th/anonymouse/news/33696
เกวรินทร์ ฉันทนะสุขศิลป์ พิมลมาศ เนตรมัย และกิจปฏิภาณ วัฒนประจักษ์. (2558). การศึกษาปัญหาในการฝึกปฏิบัติงานและปัจจัยซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(1), 127-135.
ธนวัฒน์ รื่นวงศ์. (2553). คุณภาพชีวิตและสภาพการทำงานของแรงงานนอกระบบ: การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ 1.วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2 (1), 85-95.
เบญจวรรณ ธรรมรัตน์ และ พัชมณ ใจสะอาด. (2559). การคุ้มครองแรงงานนักศึกษาที่ทํางานบางชวงเวลา: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.วารสารจันทรเกษมสาร, 22(4),21-30.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ อภิชา ธานีรัตน์ ปิยนันต์ คล้ายจันทร์ และชมภูนุช พุฒิเนตร. (2559). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ที่จัดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในร้านสะดวกซื้อ. วารสารปัญญาภิวัฒน์,8(1).200-212.
เรมวล นันท์ศุภวัฒน์ อรอนงค์ วิชัยคำ และ อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างชั่วโมงการ
ปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลและผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย พยาบาลและองค์กรในโรงพยาบาลทั่วไป.พยาบาลสาร,41(4), 58-69.
ภรภัทร จุฑากูร. (2561). รมว.แรงงาน สั่งหางานให้ นร.-นศ.ทำพาร์ทไทม์. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2561, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/40220
สุขจิตร ตั้งเจริญ ฐาศุกร์ จันประเสริฐ และอ้อมเดือน สดมณี. (2556). ปัจจัยทางจิตสังคมและความสามารถในการบริหารเวลาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรับผิดชอบของนักศึกษาปริญญาตรีภาคสมทบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา,5 (1),1-9.
Boud, D. & Solomon, N. (2001).Work-based Learning: A New Higher Education?. Buckingham:
Open University Press.
Clark, R. E. (2003).Fostering the Work Motivation of Individuals and Teams. Performance Improvement,42(3), 21-29.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.