ความสำเร็จและการรักษาให้ยั่งยืนของหมู่บ้านม้าร้อง หมู่บ้านเข้มแข็ง ตามแนวทาง “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

สายฝน มีศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินความสำเร็จของหมู่บ้านม้าร้อง ในฐานะหมู่บ้านเข้มแข็งตามแนวทาง “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จของหมู่บ้านม้าร้อง ในฐานะหมู่บ้านเข้มแข็งตามแนวทาง “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง”  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการรักษาความสำเร็จของหมู่บ้านม้าร้อง ในฐานะหมู่บ้านเข้มแข็งตามแนวทาง “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” ให้มีความยั่งยืน  การวิจัยนี้ประกอบด้วยการวิจัยปริมาณและการวิจัยคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 203 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้าน สถิติที่ใช้ในการวิจัยปริมาณได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทีเทสต์ เอฟเทสต์  การวิเคราะห์เนื้อหาสาระ การวิจัยคุณภาพ วิเคราะห์โดย SWOT และ TOWS Matrix ผลการวิจัย (1) ความสำเร็จของหมู่บ้านม้าร้อง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ผู้ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จของหมู่บ้านม้าร้อง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (3) แนวทางรักษาความสำเร็จ หมู่บ้านควรกำหนดกลยุทธ์เชิงรุก โดยจัดทำแผนการพัฒนาหมู่บ้านให้ตรงตามนโยบายของรัฐเพื่อประโยชน์ในการขอสนับสนุนงบประมาณ กลยุทธ์เชิงรับ โดยส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  กลยุทธ์เชิงป้องกัน โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการลดต้นทุนในการผลิตสินค้าทางการเกษตรและกลยุทธ์เชิงแก้ไข โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาจัดระบบฐานข้อมูลประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). แผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2560- 2564. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน กรมการพัฒนาชุมชน.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา.(25 กรกฎาคม 2562).ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่136 ตอนพิเศษ 186 ง. หน้า 3-29.

ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์.(2558).ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. ค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2563, จากhttp://www.academy.rbru.ac.th/uploadfiles/books/58-2018-08-01-08-41-20.pdf

ทวีป บุตรโพธิ์. (2561).แนวทางในการกำหนดนโยบายพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง. ค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2563, จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th

ธนากร สังเขป. (2556). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

รพีภัทร์ สุขสมเกษม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (การศึกษาอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

สุรเดช หวังทอง. (2560). การวางแผนในองค์การและการจัดการเชิงกลยุทธ์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. ค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2563, จาก http://www.nesdb.go.th/download/plan12/สรุป สาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12.pdf