ประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารตำบลคลองเขิน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อประเมินประสิทธิผลในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขิน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นจากทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างจำแนกด้วยลักษณะประชากร (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นกับประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และ (4) เพื่อตรวจสอบความสามารถในการพยากรณ์ประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จากปัจจัยที่มี ผลต่อประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมด้วยความผูกพันของพลเมือง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในตำบลคลองเขิน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 373 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ความแปรปรวนทางเดียว สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสมการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขิน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีอยู่ในระดับมาก (2) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหาร ส่วนตำบลคลองเขิน แตกต่างกัน เมื่อจำแนกด้วยลักษณะประชากร (3) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และ (4) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นได้ร้อยละ 54.9
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จงรักษ์ ชำนาญ และกฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์. (2562). การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลบ้านเต่า อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(1), 293.
ปรียานุช วิริยราชวัลลภ.(2539).ความผูกพันต่อชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านชี จังหวัดลพบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 (11 พฤศจิกายน 2542). (2542). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 5-6.
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 (17 ตุลาคม 2548). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 122 ตอนพิเศษ 115 ง. ตุลาคม 2548
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก
สุวัตถิ์ ไกรสกุล และจุฑาภรณ์ คงรักษ์กวิน. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(2), 120-121.
Yamanae, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Cohen , J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Ithaca, New York: Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.