ประสิทธิผลการให้บริการด้านประชาสัมพันธ์ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสำรวจระดับประสิทธิผลการให้บริการด้านประชาสัมพันธ์ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการให้บริการด้านประชาสัมพันธ์ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกด้วยลักษณะประชากร (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จประสิทธิผลการให้บริการด้านประชาสัมพันธ์ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์กับความสำเร็จประสิทธิผลการให้บริการด้านประชาสัมพันธ์ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนที่มีภูมิลำเนาในอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำนวน 395คน จากและสุ่มตัวอย่างแบบเป็นขั้นตอนทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพียร์สันอาร ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิผลการให้บริการด้านประชาสัมพันธ์ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์อยู่ในระดับสูงที่สุด (2) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีความคิดเห็นต่อ ประสิทธิผลการให้บริการด้านประชาสัมพันธ์ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำแนกด้วยลักษณะประชากรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (3) ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการให้บริการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลการให้บริการด้านประชาสัมพันธ์ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิราภรณ์ ขันทอง. (2560). รูปแบบการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์,6(2), 531-544.
พัชราภา ขาวบริสุทธิ์. (2540). ระบบการประชาสัมพันธ์ของเทศบาลเมืองอ่างทอง. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์,4(2), 315-325.
วชิราภรณ์ บัวใหญ่รักษา. (2553). การเพิ่มประสิทธิภาพงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ด้านการประชาสัมพันธ์ของสถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรธานี. ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562,จาก shorturl.asia/T7jUZ
วันธิกรณ์ นุเกตุ. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมศึกษากรณีงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี. ค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2562,จาก shorturl.asia/riz9y
วัลดา บินซาเว็น. (2543). ความพึงพอใจของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ต่อการให้บริการงานทะเบียนหลักทรัพย์(ประเทศไทย)จำกัด. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562, shorturl.asia/6ebXR
วาสนา สุขนิรันดร์. (2546). บทบาทของตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ในการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม: กรณีศึกษาอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส. ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2562, จาก shorturl.asia/j564t
วิเชียร วิทยอุดม. (2552). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร :ธนธัชการพิมพ์.
ศุภชัย พวงทอง. (2547). บทบาทของตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ที่มีต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 2. ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562, จาก shorturl.asia/zf4BH