ดัชนีเปรียบเทียบทัศนคติต่อแอปพลิเคชันแอร์เอเชีย และนกแอร์

Main Article Content

กัณณ์ศศิชา เนาว์เย็นผล
ดารารัตน์ สุขแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างดัชนีเปรียบเทียบทัศนคติต่อแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือของแอร์เอเชีย และนกแอร์ โดยมีกรอบแนวคิดของงานวิจัยประยุกต์จาก แนวคิดตลาดสองด้าน แนวคิดผลกระทบเครือข่ายภายนอก และ ทฤษฎีการแพร่นวัตกรรม วิธีการสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 436 คน จากผู้ใช้แอปพลิเคชันแอร์เอเชีย และนกแอร์ เพื่อตอบแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์ตัวแปรทวินาม ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้แอปพลิเคชันแอร์เอเชีย มีทัศนคติต่อแอปพลิเคชันในระดับที่สูงกว่าทัศนคติต่อแอปพลิเคชันของผู้ใช้แอปพลิเคชันนกแอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พัชวรรณ เตบุญยง. (2553). พฤติกรรมการชมภาพยนตร์ไทยในโรงภาพยนตร์ของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สาริศา เนตริยานนท์. (2555). การตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์สามมิติ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด. อำนาจการตลาดแบบ Two-sided market. สืบค้น 13 มีนาคม 2562,จาก digitalbusinessconsult.asia/view/1805.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. เส้นอุปสงค์ของสินค้าเครือข่ายและโทรคมนาคม. สืบค้น 13 มีนาคม 2562, จาก Piriya-pholphirul.blogspot.com/2007/02/blog-post.html

Roger, E. (1995). Diffusion of Innovations. New York: Free Press.