บ้านภูชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง : สู่การปฏิบัติ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้านี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติของหมู่บ้านภู อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ใช้กลุ่มเป้าหมาย 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์ข้อยูลพื้นฐานเกี่ยวกับการดำเนินงานเกี่ยวกับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ผลการศึกษาพบว่า หมู่บ้านภูเป็นหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีแนวทางการพัฒนาไปสู่การพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนโดยยึดหลักการตามแนวพระราชดำรัส ''เศรษฐกิจพอเพียง,, ได้แก่ การรวมกลุ่มต่างๆ ในชุมชนอย่างเข้มแข็ง และเป็นแรงขับเคลื่อนพลังของชุมชนที่สำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น มีการรวมกลุ่มเพี่องานอาชีพ ลดการใช้สารเคมีทางเกษตร มีระบบเศรษฐกิจชุมชนที่มาจากฐานความรู้/ภูมิปัญญาชาวบ้านเกิดจากการเชื่อมโยงสัมพันธ์ เกื้อกูลกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน จนเกิดพลังและสามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยตัวของมันเอง เป็นวิถีชุมชนที่พึ่งพาตนเองได้ พึ่งพาธรรมชาติ และพึ่งพาอาศัยระหว่างกันได้ ทั้งนี้โดยมีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชาวบ้านในชุมชนการนำหลักปรัชญาพอเพียงสู่การปฏิบัติของหมู่บ้านภู ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ (1) กิจกรรมด้านการลดรายจ่าย เป็นกิจกรรมแรกเริ่มของการดำเนินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชเพื่อบริโภคในครัวเรือน การผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพเพี่อการเกษตร การใช้พันธุพืชและสัตว์ที่ทางราชการส่งเสริม การใช้วัตถุดิบในชุมชนเพี่อผลิตสินค้า (2) กิจกรรมด้านเพิ่มรายได้ ประกอบด้วยการทำอาชีพเสริมของครัวเรือน การจัดกลุ่มอาชีพ (3) กิจกรรมการออมมีหลักการสำคัญคือ ใช้ 3 ส่วน ออม 1 ส่วน (4) กิจกรรมเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยการจัดทำแผนชุมชนโดยให้สมาชิกในหมู่บ้านมีส่วนร่วม แผนพัฒนาด้านปัจจัยพื้นฐาน และการพัฒนาหมู่บ้านประจำเดือน (5) กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญในการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดีเพราะความผูกพันกับป่ามาตั้งแต่บรรพบุรุษ จัดทำแผนการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และดำเนินการตามแผน (6) กิจกรรมเอื้ออาทร ช่วยเหลือและแบ่งปันในชุมชน ความเอื้ออาทร ช่วยเหลือและการแบ่งปัน เป็นภาพที่พบเห็นได้เสมอในชุมชนแห่งนี้ การดำรงชีวิตยังยึดหลักการแบ่งปันอาหาร ผลผลิตทางการเกษตรระหว่างบ้านใกล้เรือนเคียง และเครือญาติอยู่อย่างพี่น้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
คำสำคัญ : เศรษฐกิจพอเพียง, การเรียนรู้จากการปฏิบัติ
Abstract
This study aimed to examine the implementation of the philosophy of sufficiency economy to action learning at Mu Ban Phu, Amphoe Nong Sung, Chang wat Mukdahan by using the focus groups there were to tally 15 knowledge managers. The instruments used were a survey form and an interview form on basic data and data involving operation of the sufficiency economic village. The results revealed that Ban Phu was a village or a community with a guideline for development to sustainable self-reliance by upholding the royal statement "sufficiency economy1'. This included forming different groups in the community with strengths and being important synergy of the community to sustain able development such as there were forming groups for careers and reduction of the uses of agricultural chemicals; there were community economic systems from the bases of knowledge/indigenous knowledge as generated from connection and helping different activities get together until synergy was generated and could drive together by themselves. It was the way of self-reliant, nature- reliant, and among-people-reliant community. There was participatory learning among villagers in the community. The implementation of the philosophy of sufficiency economy to action learning of Ban Phu village operated the following different activities: (1) In expense reduction activity, expense reduction was regarded as the beginning activity of operation according to the philosophy of sufficiency economy. The community operated these activities for expense reduction: raising animals and plants for household consumption, production and uses of organic fertilizers and biofertilizers for agriculture, the uses of seeds and animals promoted by the government, the uses of raw materials available in the community for goods production. (2) Income increment activity comprised making household supplementary careers, forming career groups. (3) Savings activities had these significant principles: spending 3 parts and saving 1 part. (4) Activities for living worthwhile by making community plans by having village members have participation, plans for development of basic factor and monthly village development. (5) For natural and environmental conservation activities, the importance of keeping nature and environment very well was given because there have been commitments with forests from ancestors, making plans for natural and environmental conservation, and operating according to the plans. (6) Activities for assistance had help and sharing in the community. Assistance, help and sharing were what could been always seen in this community. Living still uphold the principle of sharing food and agricultural products among neighbors and relatives like brothers and sisters who helped one another.
Keywords: sufficient economy, action learning