รูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข บ้านเหล่าน้อย หมู่ที่ 10 ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

อวิรุทธิ์ ภักดีสุวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยรูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข บ้านเหล่าน้อย หมู่ที่ 10 ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อเป็นเป้าหมายในการไปการเป็นหมู่บ้านอยู่ดีมืสุข 3 ประเด็นหลักๆ คือ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข (2) เพื่อค้นหารูปแบบในการดำเนินงาน พัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข และ (3) เพื่อติดตามประเมินผลความพึงพอใจในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดี มีสุข

ในการศึกษาในครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วมเป็นหลัก โดยนำวิธีการและเครี่องมือวิจัยที่หลากหลายมาใช้ในการศึกษาทั้งการศึกษาจากเอกสาร และการศึกษาข้อมูลภาคสนาม การสำรวจกลุ่ม อาชีพ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การวางแผนเพื่อรู้ถึงปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ปัญหาทางเลือก การลงมือปฏิบัติ การสังเกต การสะท้อนกลับ ปรับปรุงพัฒนากิจกรรมของกลุ่ม และการใช้ประโยชน์จากผู้รู้ ทั้งผู้ที่มีบทบาทภายในและภายนอกชุมชน พื้นที่ในการศึกษา บ้านเหล่าน้อย หมู่ที่ 10 ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วยผู้วิจัยหลัก คีอ ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกอำเภอเมืองมหาสารคาม จำนวนหนึ่งคน ผู้วิจัยร่วม จำนวนหนึ่งคน คือ ครูศูนย์การเรียนชุมซน ตำบลเขวา จำนวนหนึ่งคน และนักวิจัยชาวบ้าน จำนวน 49 คน คือ ผู้นำที่เป็นทางการ จำนวนห้าคน ผู้นำที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ผู้นำกลุ่มอาชีพ จำนวนสีคน ตัวแทนกลุ่มองค์กรชุมชนสี่กลุ่มๆ ละ 10 คน รวม 40 คน รวมจำนวนทั้งหมด 51 คน

ขั้นตอนการศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งปรับปรุงมาจากกระบวนการเรียนรู้ในการสร้างและพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชนเพี่อการเรียนรู้และอยู่ดีมีสุขของฉลาด จันทรสมบัติ และคณะ (2548: 7) มาสรุปกำหนดขั้นตอนการวิจัยสามระยะ คือ การแสวงหารูปแบบ หมู่บ้านอยู่ดีมีสุข นำรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุขมาใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย และการสรุปบทเรียนและติดตามประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้

ด้านบริบทชุมชนบ้านเหล่าน้อย หมู่ที่ 10 ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มีจำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 75 หลังคาเรือน ประชากร 334 คน แยกเป็น ชาย 170 คน หญิง 164 คน มีการตั้งถิ่นฐานและความเป็นอยู่ เหมือนกับชุมชนชนบทอีสานทั่วๆ ไปประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

ด้านการพัฒนารูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข ได้แสวงหารูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข โดยมีวิธีการดำเนินงานอยู่สามขั้นตอน คือ การแสวงหาและศึกษาแนวคิดการพัฒนาหมู่อยู่ดีมีสุขโดยรูปแบบ การดำเนินงานเป็นการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาข้อมูลภาคสนามจากพื้นที่ต้นแบบ และการปรับปรุงเพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข ประกอบด้วย ห้าขั้นตอนการเรียนรู้ คือ ขั้นการคิด ขั้นการจำ ขั้นการทำ ขั้นการแก้ปัญหา และขั้นการพัฒนา หลังจากนั้นผู้วิจัยการนำไปทดลองใช้กลุ่มชุมชนเป้าหมาย คือ บ้านดงเค็ง ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ผลจากการดำเนินงานทำให้ได้ บทเรียนที่นำมาสู่การสังเคราะห์และพัฒนารูปแบบแนวทางการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข

ด้านการค้นหารูปแบบในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข ได้นำรูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข ไปใช้จริงกับชุมชนเป้าหมายคือบ้านเหล่าน้อย หมู่ที่ 10 ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยมีวิธีการดำเนินงาน หกขั้นตอน คือ การสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน การจัดทำแผนการเรียนรู้การพัฒนา หมู่บ้านอยู่ดีมีสุข การส่งเสริมให้แต่ละกลุ่มกิจกรรมนำแผนการเรียนรู้หมู่บ้านอยู่ดีมีสุขไปส่การปฏิบัติ การทำเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมสรุปบทเรียน การทบทวนแผนการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ชัดเจน และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาและยกระดับองค์ความรู้ส่การแก้ไข ปัญหา ตามความสนใจของกลุ่มองค์กร

ด้านการติดตามประเมินผลความพึงพอใจในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข หลังจากได้ ดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุขไประยะหนึ่ง จึงได้สรุปบทเรียนและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน พัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานสามขั้น คือ การจัดเก็บองค์ความรู้ลงบนฐานข้อมูล ในประเด็นที่ประสบผลสำเร็จ การประเมินผลความสำเร็จในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข และการ ดำเนินการเผยแพร่ชุดความรู้ และการเปิดหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข

คำสำคัญ : รูปแบบ, การพัฒนา, หมู่บ้านอยู่ดีมีสุข

 

ABSTRACT

In this study of a model for developing the happy village of Ban Lao Noi, Mu 10, Tambon Khwao, Amphoe Mueang, Changwat Maha Sarakham, there were 3 purposes of the operation leading to become the happy village: 1) to develop a model of developing the happy village, 2) to search for the model for developing the happy village, and 3) to follow up and evaluate satisfaction towards developing the happy village.

In this study the participatory action research methodology was mainly used by applying various research methods and instruments, including documentary study and field study, survey occupation group, interviewing, group discourse; planning to find out problems, causes, and problem-rolling prachies, observation, reflection, group actively improvement and development of local inside and outside the community. The study locale Ban Lao Noi, Mu 10, Tambon Khwao, Amphoe Mueang, Changwat Maha Sarakham.

The focus group and the co-researcher group included one focus group, the 1 director of Amphoe Muang Maha Sarakham Nonformal Education Service Center one, co-researcher, the teacher at Tambon Khwao Community Learning Center; and 49 villager researchers including five formal leaders and four informal leaders, and representatives of four community organization groups of 10 representatives each, totaling 40 a total of 51 persons altogether.

The stages of this study, were based on the model of participatory action research, adapted from the learning process for creating and developing networks of learning community organizations for learning and living happily designed by Chalard Chantarasombat and others (2005 7) to summarize determine research stages into three phrases: seeking the model for the happy village, implementing the model for developing the happy village with the focus group, and summarizing lessons, and following up the operation of developing the happy village.

The results of the study revealed as follows"

In terms of the community context, Ban Lao Noi, Mu 10, Tambon Khwao, Amphoe Mueang, Changwat MahaSarakham, had 75 households with the population of 334, including 170 males and 164 females. The settlement and liveing were similar to Isan rural communities in general. Most of the population mainly made their living by farming by doing agricultural occupation.

In terms of developing the model for developing the happy village, the model for developing the happy village was by using sought the operation in three stages namely seeking and examining the concepts of developing the happy village. Through

documentary and related literature study field study, and the improvement for construct­ing the model for developing the happy village, including five stages, namely thinking stage, memorizing stage, doing stage, problem-solving stage, and developing stage, and implementing of the model with the focus community groups of Ban Dong Kheng, Tambon Tha Song Khon, Amphoe Mueang, Changwat Maha Sarakham. The results of operation provided the lessons for synthesizing and developing the model for operating the happy village.

In terms of seeking the model for operation of developing the happy village, the model for developing the happy village was implemented in the focus community, of Ban Lao Noi, Mu 10, Tambon Khwao, Amphoe Mueang, Changwat Maha Sarakham in six stages, including surveying problems and needs of the community, making learning plans for developing the happy village, promoting each activity group in implementing the plan for the happy village, organizating the forum of shared learning of each activity summarized, revising the operational plans for the clear body of knowledge learning activities for developing and upgrading the body of knowledge leading to problem­solving according to each organization group interest.

In terms of the follow-up of satisfaction towards developing the happy village, after having under taken developer the happy village for a period of time, the lesson were evaluated operation of developing the happy village, was made in three stages, storing the body of knowledge on the database of the success, evaluating the success of developing the happy village, and disseminating series of knowledge and opening the happy village.

Keywords : model, developing, happy village

Article Details

Section
บทความวิจัย