การพัฒนาสื่อประสมด้วยการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่อง การพัฒนาเว็บเพจด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยียังไม่ตอบสนองกระบวนการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากขาดสื่อเครื่องมืออุปกรณ์ตลอดจนเทคนิควิธีการใหม่ๆ ที่ใช้สนับสนุน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สื่อประสมเป็นรูปแบบ การเรียนรู้แบบเอกัตตบุคคลที่เน้นให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ ตามความสามารถและ ความสนใจเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาสื่อประสมด้วยการเรียนรู้แบบซิปปา ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของสื่อประสมด้วยการเรียนรู้แบบซิปปาที่พัฒนาขึ้น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อประสมด้วยการเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบรบือ จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้จากการจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 37 คน ระยะเวลาในการทดลอง คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ สื่อประสมด้วยการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่อง การพัฒนาเว็บเพจด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธี้ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า สื่อประสมที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.27/83.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7155 หรือนักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 71.55 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อประสมด้วยการเรียนรู้แบบซิปปา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสรุป ทำให้ได้สื่อประสมที่พัฒนาขึ้นที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเหมาะสม ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดจึงควรสนับสนุนให้ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้นี้นำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายของรายวิชาต่อไป
คำสำคัญ : สื่อประสม การเรียนรู้แบบซิปปา บทเรียนบนเว็บ โปรแกรมบทเรียน
ABSTRACT
The condition of organization of learning activities in the learning strand of career and technology has not yet responded to the process of learner-centered learning due to lacks of media, instruments, equipment and new techniques used for supporting organization of leaning activities. Multimedia are a model of individual learning which emphasizes learners to have opportunities to leans according to utility and interest for developing each learner's potentiality.
The purposes of this study were: to lector multimedia by swing CIPPA leaning with a required efficiency of 80/80, to find out an effectiveness index and to examine students’ satisfaction with the multimedia by wring CIPPA learning. The sample were in this study consisted of 37 Matthayomsueksa 3 (grade 9) student from 1 classroom at Barbate School, allayed by wring the charter random sampling technique. The period of experiment was in the second semester of the academic year 2007.
The interments used in this study were multimedia by wring CILLA leaning entwisted Developing Web Paged by wring the programmed computes, an achievement test, and a scale on satisfaction. The statutes used for analyzing the collected data were percentage, mean and standard deviation.
The results of the study revealed that the disclosed multimedia red an sufficiency of 84.27/83.16 which was tighter than the established requirement, Showing that the students had learning process from before learning at 71.55 percent and had an effective media by using CIPPA leaning as a whole at the highest level.
In conclusion, the developed multimedia were appropriately efficient and affective. The leasers had satisfaction at the highest level. Therefore, teachers in this leaning strand shore be supported to implement the multimedia in organization of learning activities for leasers to archive the course objectives in the future.
Keywords : multimedia, CIPPA Learning, web-base instruction, courseware