การพัฒนารูปแบบคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองซอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
สังคมไทยในปัจจุบันสื่อมวลชนทุกแขนงได้สะท้อนคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนเสื่อมลงมุ่งเน้นบริโภคนิยม และชอบความสะดวกสบาย ขาดการคิดวิเคราะห์ไตร่ตรอง ไม่รักการอ่าน โรงเรียนบ้านหนองชอนก็ประสบปัญหาลักษณะนี้เช่นกัน หากปล่อยให้สภาพปัญหานี้คงอยู่ต่อไป คงยากแก่การแก้ไข ส่งผลต่อความอ่อนด้อยด้านคุณธรรมจริยธรรม และคุณภาพของเยาวชนคนไทยต่ำลงจำเป็นที่จะต้องหารูปแบบแนวทางแก้ไขในปัญหาในลักษณะภาคีแห่งความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดและบังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การวิจัยมีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพี่อพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนด้านวินัยในตนเองและกับผู้อี่น ความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่น ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นและรักการอ่าน โดยกระบวนการมีส่วนร่วม 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนระหว่างก่อนกับหลังการพัฒนา ด้านวินัยในตนเองและกับผู้อี่น ความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อี่น ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการรักการอ่าน โดยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการการพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยครู เพื่อนนักเรียน และผู้ปกครอง โดยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านหนองชอน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 การวิจัย ครั้งนี้ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ตามแนวคิดของเคมมิส และแม็กแทกการ์ท (สุวิมล ว่องวานิช. 2544 : 13) และ การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ ของฉลาด จันทรสมบัติ (2550 : 5) แล้วนำมาประยุกต์ใช้ เป็นกรอบแนวคิดการวิจัยการพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชอน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ ขั้นศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา ขั้นการวางแผนแบบมีส่วนร่วม ขั้นการปฏิบัติตามแผนและปรับปรุงพัฒนา ขั้นตรวจสอบประเมินผล ขั้นการสะท้อนผลและขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกลยุทธ์การพัฒนา ได้แก่ กลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วม กลยุทธ์การสร้างกระบวนการเรียนรู้ กลยุทธ์การเคลื่อนไหวของสังคม และกลยุทธ์การ สื่อสารเพื่อประชาชนกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน'ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 231 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 477 คน ประกอบด้วย ครู 15 คน ผู้ปกครอง 231 คน และนักเรียน 231 คน เครี่องมือ ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินพฤติกรรมการพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนจำนวน 60 ข้อ มืค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 แบบสังเกตคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนจำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 คู่มือครูโปรแกรมการฝึกฝนนักเรียนปรับปรุงพัฒนาจากกรมการศาสนา และผ่านการตรวจสอบความที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้ การทดสอบค่า t (Dependent Samples) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนแบบมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้น มี 8 ขั้นตอน ถือเป็นการมีส่วนร่วมสูงสุด คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมตรวจสอบ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมสรุปผลบทเรียน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีวิธีการดำเนินการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้น มี 6 ขั้นตอน คือ ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา การวางแผนแบบมีส่วนร่วม การปฏิบัติตามแผนและปรับปรุงพัฒนาการตรวจสอบประเมิน การสรุปสะท้อนผลและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์ 4 ประการ คือ กลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วม กลยุทธ์การสร้างกระบวนการเรียนรู้ กลยุทธ์การเคลื่อนไหวของลังคม และ กลยุทธ์การลื่อสารเพื่อประชาชน
2. เปรียบเทียบคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างหลังกับก่อนการดำเนินงานพัฒนา โดยรวมพบว่าคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์หลังดำเนินงานแตกต่างกัน กับก่อนดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพิจารณาเป็นรายด้านหลังดำเนินงานกับ ก่อนดำเนินงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทุกด้าน คือ ด้านวินัยในตนเองและกับผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่น ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการรักการอ่าน
3. ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจการพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับ จากมากไปหาน้อยคือ ด้านวินัยในตนเองและกับผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่น ทักษะการทำงาน ร่วมกับผู้อื่น และรักการอ่าน ตามสำดับ
การพัฒนารูปแบบคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนและการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทขององค์กรและสภาพของท้องถิ่น ทั้งรูปแบบและกระบวนการวิจัย พัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนตามความมุ่งหมาย ซึ่งผ่านการเรียนรู้จากการปฏิบัติของผู้มีส่วน ได้เสียทั้ง ครู เพื่อนนักเรียนและผู้ปกครอง แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบการพัฒนาและการวิจัย มีความ ตรงกันว่ามีความพึงพอใจต่อการพัฒนาคุณลักษณ์ของนักเรียนมีความเหมาะสมมากที่สุด ทั้งด้านวินัยในตนเอง และกับผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่น ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการรักการอ่าน
คำสำคัญ : คุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียน กระบวนการมีส่วนร่วม
Abstract
In the current Thai Society, all branches of mass media reflected that Students' desirable characteristics are declining. The students emphasize consumptionism, prefer convenience, lack analytical thinking and meditation, and do not love reading. Ban Nongzon School is also facing those problems of If These problems are left in existence any further, they will be difficult to solve, causing weaknesses in morality, ethics and low quality of young Thai people. Thus it is necessary to find a model and guidelines for solving problems in the type of parties of participation for solving problems on the point and to this รณdy were : 1) to develop students' desirable characteristics in terms of self-discipline and discipline with other people, skills in working together with other people, and love of reading by the use of participation process, 2) to compare students' desirable characteristics between after and before development in terms of self-discipline and discipline with other people, responsibility for self and other people, skills in working with other people, and love of reading by the use of participation process, 3) to evaluate satisfaction with development of students' desirable characteristics by teachers, peer students and parents at Pratomsueksa 4-6 and Matthayomsueksa ไ- 3 level at Ban Nongzon School in the first semester of the academic year 2008. This study used the participatory action research (PAR) methodology according to the concept of Kemmis and McTaggart (Suwimon Wongwanit. 2001 : 13) and action learning by chalard Chantarasombat (2007 ะ 5). Then it was applied to be used as the conceptual framework of research in developing desirable characteristics of the students at Ban Nongzon School consisting of these 6 stages examining conditions of current problems, participatory planning, action according it the plan and improvement and development, checking and evaluation, summary of reflection, and sharing learming by using development strategies including participation creation strategy, learning process creation strategy, social movement strategy, and communication for people strategy. The focus group consisted of 231 Pratomsueksa 4- 6 and Matthayomsueksa 1-3 students. A group of 465 informants consisted of 15 teachers, 231 parents and 231 students. The instruments used for collecting data were a 60-item evaluation form on behavior in developing students' desirable characteristics with a reliability of 0.94, a 40-item observation form on students' desirable characteristics with a reliability of 0.98, a 40-item questionnaire on satisfaction with students' desirable characteristics with a reliability of 0.97, and a teacher's handbook involving the program for student training as improved and developed from the Department of Religious Affairs and cheeked for validity by experts, and appropriateness was found to be at the highest level. The collected data were analyzed by the use of a computer program. The statistics used for analyzing the data were percentage, mean, standard deviation and t-test (dependent samples). The results of the study were as follows :
1. The developed participatory development of students' desirable characteristics had 8 stages regarded as having the highest participation including thinking together, planning together, making decision together, acting together, checking together, together, taking responsibility together, summarizing lessons together and sharing learning together. The developed method of conducting participatory action research had these 6 stages examining conditions of current problems, participatory planning, action according and evaluation, summary of reflection, and sharing learning by using these 4 strategies : participation creation strategy, learning process creation strategy, social movement strategy, and communication for people strategy.
2. For the resents of comparing Pratomsueksa 4-6 and Matthayomsueksa 3 students' desirable characteristics between after and before operation of development as a whole, it was operation were different from before operation at the .01 level of statistical significance. When each aspect was considered, it was found that the desirable characteristics after operation were different from before operation at the .01 level of statistic at significance in every of these espects : self-discipline and discipline with other people, responsibility for self and other people, skills in working with other people, and love of reading.
3. The teachers, students and parents showed their satisfaction with developing students' desirable characteristics as a whole at the highest level. When each aspect was considered, it was found that their satisfaction was at the highest level in this order self-discipline and discipline with other people, responsibility for self and other people, skills in working with other people, and love of reading respectively.
The development of the developed model of the students' desirable characteristics and the participatory action research was appropriate and in congruence with the context of the organization and local conditions and the model and the process of conducting research in developing students' desirable characteristics according to the purposes. This passed learning from action of stakeholders including teachers, peer students and parents. When it Was synthesized for the models of development and research which was in congruence students characteristics was most appropriate in these aspects : self-discipline and discipline with other people, responsibility for self and other people, skills in working with other people, and love of learning.
Keywords : Students' Desirable Characteristics, The Participation Process