การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เป็นเครื่องมือการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ทำให้เกิดความมั่นใจว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาทุกคนจะมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความต้องการของสังคม การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายสองประการ คือ (1) เพี่อศึกษาสภาพปัจจุบันการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ (2) เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำหรับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิธีดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสานวิธีโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจและวิจัยและพัฒนา ในการศึกษาสภาพปัจจุบันในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดำเนินการโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร ในการพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพการศึกษาภายใน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สร้างแบบสอบถามถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย สรุป ความคิดเห็นที่สอดคล้องกันของผู้เชี่ยวชาญมาสร้างเป็นระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ก่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครั้งนี้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควรเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
2. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่พัฒนาขึ้นประกอบ 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนำเข้า มีจำนวน 6 มาตรฐานได้แก่ ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านการเงิน และงบประมาณ รวม 18 ตัวบ่งชี้ ด้านกระบวนการมี 9 มาตรฐาน ได้แก่ ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนงาน ด้านการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมการพัฒนานิสิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านการเงินและงบประมาณ ด้านระบบและกลไก การประกันคุณภาพ รวม 26 ตัวบ่งชี้ และด้านผลผลิต มี จำนวน 8 มาตรฐานได้แก่ ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนงาน ด้านการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมการพัฒนานิสิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการ วิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ รวม 19 ตัวบ่งชี้ รวม 9 มาตรฐาน 63 ตัวบ่งชี้กลไกในการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน คือ ศึกษาสภาพปัจจุบัน สร้างตัวบ่งชี้จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 คน นำตัวบ่งชี้ที่ได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความเป็นไปได้ การกำหนดให้หน่วยงาน บุคลากรรับผิดชอบซึ่งได้แก่ฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ และการกำหนด กิจกรรมประกันคุณภาพทุกปี
ผลการประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ปฏิบัติของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน พบว่า ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัย นำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.50, 4.34 และ 4.23 ตามลำดับ
โดยสรุป ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก จึงสมควรนำระบบนี้ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรีอสถาบันการศึกษาอื่นๆ ต่อไป
คำสำคัญ : การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน/คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract
Intrenal education quality assurance instrument for providing education to have quality and generate confidence that all graduates will have desirable characteristics according the social needs. The 2 major purposes of this study were : (1) to examine current conditions of internal education quality assurance for the faculty of education, Maha Sarakham University, and (2) to develop internal education quality assurance systems for the Faculty of Education, Maha Sarakham University. The research method use was the process of mixes methods by using the exploratory research and research and development for examining current conditions of internal education quality assurance of the Faculty of Education, Maha Sarakham University. Data were collected from documentary study using an open- ended questionnaire. For developing internal education quality assurance systems, the data were collected by studying documents and related literature. A questionnaire was constructed for opinions of 13 experts. The experts’ opinion were summarized for congruence to construct internal education quality assurance systems for the Faculty of Education, Maha Sarakham University. The statistics used for analyzing the collected data were mean and standard deviation.
The results of the study were as follows :
1. Before this development of the internal education quality assurance systems, the Faculty of Education, Maha Sarakham University did not have good systems as it should have been because there were frequent changes of responsible officials.
2. The development internal education quality assurance systems for the Faculty of Education, Maha Sarakham University consisted of these 3 aspects : input with 6 standrads comprising learning and teaching, research, academic serrices to the society, maintenance of art and culture, administration and management, and finance and budget with totally 18 indicators ; process with 9 standrads comprising philosophy, resolution, purposes and plans, learning and teaching, student development activities, research, academic services to the society, maintenance of art and culture, administration and management, finance and budget, and quality assurance systems and mechanisms with totally 26 indicators ; and product with 8 standrads comprising philosophy, resolution, purposes and plans, learning and teaching, student development activities, research, academic services to the society, maintenance of art and culture, administration and management, and quality assurance systems and mechanisms with totally 19 indicators, with a grand total of 23 standrads and 63 indicators. The mechanisms for operating internal quality assurance included prescription of the national level policy, prescription of responsible agencies and personnel including Quality Research and Assurance Division and prescription of activities for quality assurance every year.
For the results of evaluating feasibility of implementing the systems in practice in internal education quality assurance of the Faculty of Education, Maha Sarakham University by 5 experts, it was found that all the 3 aspects of input, process and product had feasibilities of implementing the systems in practices at a high level with to be equal to 4.50 ; to be equal to 4.34 : to be equal to 4.23 respectively.
In conclusion, the results of this study could provide inter nal education quality assurance systems and mechanisms for the Faculty of Education, Maha Sarakham University, which were appropriate and feasible to implement in practice at a high level. Thus these systems should be implemented in development of the quality education quality of education of the Faculty of Education, Maha Sarakham University or other educational institutions in the future.
Keyword : Internal Education Quality Assurance/Faculty of Education, Mahasarakham University