การพัฒนากลุ่มขนมจีนสมุนไพรสู่เศรษฐกิจพอเพียง บ้านเหล่าราษฎร์พัฒนา หมู่ที่ 11 ตำบลประชาพัฒนา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ฉลาด จันทรสมบัติ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบริบททั่วไปของบ้านเหล่าราษฎร์พัฒนา (2) เพื่อพัฒนากลุ่มกลุ่มขนมจีนสมุนไพรในการบริหารจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง (3) เพี่อประเมินศักกยภาพของกลุ่มขนมจีนสมุนไพรสู่เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเหล่าราษฎร์พัฒนา พื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บ้านเหล่าราษฎร์พัฒนา ตำบลประชาพัฒนา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มผู้ร่วมวิจัย แยกเป็นผู้วิจัยหลัก คือ จำนวน 1 คน ผู้วิจัยร่วม จำนวน 1 คน คือ ผู้ช่วยนักวิจัย และนักวิจัยชาวบ้าน จำนวน 20 คน คือ ผู้นำที่เป็นทางการ จำนวน 5 คน ผู้นำที่ไม่เป็นทางการได้แก่ผู้นำกลุ่มอาชีพ จำนวน 5 คน ตัวแทนกลุ่มองค์กรชุมชน 10 คน รวม 20 คน รวมจำนวนทั้งหมด 22 คน เครื่องมือมี 3 ชนิด คือ 1) กรอบประเด็นในการสัมภาษณ์และสำรวจชุมชน 2) ตัวชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชน 3) แบบประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงาน ระเบียบวิธีวิจัยประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ตรวจสอบความเที่ยงตรงในการเก็บ รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพใช้เทคนิคตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้

1. ด้านบริบทชุมชน บ้านเหล่าราษฎร์พัฒนา มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 74 หลังคาเรือน ประชากร 329 คน แยกเป็น ชาย 172 คน หญิง 157 คน มีการตั้งถิ่นฐานและความเป็นอยู่เหมือนกับชุมชนชนบทอีสานทั่วๆ ไป ด้านเศรษฐกิจประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักทำนา และด้านการศึกษาบริบทชุมชนที่ส่งผลต่อการดำเนินงานพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนแห่งการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินงานในระยะ ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และลงพื้นที่เพื่อพบปะกลุ่มองค์กรชุมชนเป้าหมาย โดยมีขั้นการดำเนินงาน คือ ศึกษาชุมชนและค้นหาทีมแกนนำ จัดทำแผนการดำเนินงานการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มองค์กร ชุมชนในการพัฒนาองค์กร จัดทำเครื่องมือตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงาน

(2) ด้านการพัฒนากลุ่มขนมจีนสมุนไพรในการบริหารจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง หลังจากที่ผู้วิจัยได้ทราบบริบทและสถานการณ์ของชุมชนและกลุ่มองค์กรเป้าหมาย จึงได้ผลักดันให้กลุ่มองค์กรได้นำแผนการพัฒนากลุ่มแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้อย่างจริงจัง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ สร้างความตระหนักในการดำเนินงาน ด้วยวิธีการจัดกิจกรรมให้กลุ่มได้ไปศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบในการพึ่งตนเอง ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงตามความต้องการของกลุ่ม ส่งผลให้กลุ่มดำเนินงานได้บรรลุตามเป้าหมายในระดับหนึ่ง สรุปบทเรียนและทบทวนแผนการดำเนินงาน แล้วมีการประเมินผลระหว่างดำเนินงานตามแบบประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จที่สร้างขึ้น พบว่า โดยภาพรวมกลุ่มแปรรูปขนมจีนสมุนไพรมีการพัฒนางานของตนให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในระดับมีความเหมาะสมมาก

(3) ด้านการประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จของกลุ่มขนมจีนสุมนไพรสู่เศรษฐกิจพอเพียงผู้วิจัยได้ประเมิน ผลหลังสิ้นสุดโครงการ พบว่า โดยภาพรวมกลุ่มขนมจีนสุมนไพรมีความรู้ความสามารถต่อการพัฒนากลุ่มองค์กร ชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับดีหรือเหมาะสมมาก เพราะกลุ่มยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการทำงานทั้งด้านการตลาด และการเงิน จำเป็นต้องมีการสนับสนุนและพัฒนาไปอีกระยะหนึ่ง

คำสำคัญ: การพัฒนากลุ่ม, การเรียนรู้จากการปฏิบัติ. เศรษฐกิจพอเพียง

 

ABSTRACT

The development of learning community organization groups to sufficiency economy is purposes of conducting this study of the development of learning community organization groups to sufficiency economy were (1) to examine general context of Ban Lao Rat Phatthana which effected operation of development of learning community organization groups to sufficiency economy, (2) to develop community organization groups in management to learning organizations to sufficiency economy and (3) to evaluate potentials of learning community organization groups to sufficiency economy of Ban Lao Rat Phatthana. The focus area of study was Ban Lao Rat Phatthana, Mu 11, Tambon Pracha Phatthana, Amphoe Wapi Pathum, Changwat Maha Sarakham, The focus group and the group of research participants could be divided into 1 major researcher: director of Amphoe Wapi Pathum Nonformal Education Service Center; 1 participants: Amphoe Wapi Pathum Nonformal Education Service Center volunteer teachers; and 20 villager researchers: 5 formal leaders, 5 informal leaders comprising 5 occupation group leaders, and 10 representatives of community organization groups with a total of 22 persons, Methodology: application of participatory action research, checking validity of qualitative data collection using triangulation technique. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, and standardization. Results could be summarizes as follows:

1) in the community context, Ban Lao Rat Phathana had totally 74 house holes with the population of 329 people: 172 males and 157 females and had similar settlement and being to Isan rural communities in general. In economy, most of its people earned their chief living by farming. In examining the community context which affected operation of developing learning community organization groups to sufficiency economy, in operation in the beginning phase the researcher used the methods of studying related documents and field study to meet the focus community organization group. The operational stages were: studying the community and searching for a core leading team, making plans for operation of participatory to making instruments of operational success indicators.

2) in developing community organization groups Thai noodle in management to learning organizations to sufficiency economy, after the researcher had already know the context and situations of the community and the focus organization groups, he earnestly pushed the organization groups to implement organization groups to suffi­ciency economy. The stages of operation were: building awareness of operation by using the methods of organizing activities for the community organization group to have field trips in the areas of model process by real action which caused the focus organization groups to be able to achieve the goals at a certain level, summarizing lessons and reviewing the plans for operation and then evaluation while operating according to the constructed form of evaluating success indicators. It was found that the groups transmuted herbal Thai noodles had operational development while operating as a whole at a high level.

(3) in evaluation of potentials of the learning community organization Thai noodle groups to sufficiency economy, the researcher evaluated the potentials at the end of the project. It was found that the community organization groups as a whole had ability to develop the learning community organization groups to sufficiency economy at a medium level. It was because these groups still lacked knowledge and work experiences in terms of group, production, marketing, and finance groups to real sufficiency economy, it was necessary to have further support and development for a period of time in the future.

Keywords: community development, action leaning, sufficiency economy

Article Details

Section
บทความวิจัย