การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญากับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ผังกราฟิก

Main Article Content

วิไลวรรณ อุ่นจันทร์
นิราศ จันทรจิตร
ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ ใช้ทฤษฏีพหุปัญญาและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แผนผังกราฟิก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 (3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา และจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก และ (4) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ และการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยประยกต็ใช้ทฤษฎีพหุปัญญากับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 และ 1/3 โรงเรียนโรงเรียนเซกา อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน2 ห้อง ห้องเรียนละ40 คนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนผังกราฟิกจำนวนรูปแบบละ 10 แผน ๆ ละ 2 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 3 และ(3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเซิงสร้างสรรค์แบบอัตนัยจำนวน 4 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติ Independent t - test และ Hotelling’s Trace

ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีพหุปัญญาและแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.86/81.18 และ83.82/81.14 ตามลำดับ

2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาและแผนการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6904 และ 0.6857 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 69.04 และ 68.57 ตามลำดับ

3. นักเรียนทั้งสองกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีพหุปัญญา และกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก มีความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์และความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่มีความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ และการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ : การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก, ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์, ความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์

 

ABSTRACT

The purposes of this study were to find out an efficiency and an effectiveness index of the plans for organization of the multiple intelligences theory approach and graphic organizers approach ; to compare analytical reading and creative writing abilities of matthayomsueksa 1 students between before and after using of the two mentioned approaches; and to compare analytical reading and creative writing abilities of Matthayomsueksa 1 students who learned using different learning approaches. The sample used in this study consisted of 80 Matthayomsueksa 1 students attending Sekar school in Sekar district, Nhongkai Province in the first semester of the academic year 2009, obtained using the cluster random sampling technique. They were randomly divided into two experimental groups, 40 students each in which the classroom group 1/2 used the organization of the multiple intelligences theory approach and group 1/3 used graphic organizers approach. The instruments used for the study comprised of 2 types of plans for organization the multiple intelligences theory approach and graphic organizers approach, 10 plans each, for 2 hours per plan ; and 2 types of the instruments used for collecting data comprised of a 30-item analytical reading test; a 4-item of creative writing test. The statistics used for analyzing data were percentage, mean, standard deviation, paired t-testand Hotelling Trace.

The results of the study were as follows :

1. The plans for organization of the multiple intelligences theory approach and graphic organizers approach had efficiencies (E /E2) of 83.86/81.18 and 83.82/81.14 respectively.

2. The plans for organization of the multiple intelligences theory approach and graphic organizers approach had the effectiveness indexes of .6904 and .6857, indicating that these students progressed their learning at 69.04 and 68.57 percent respectively.

3. The students who learned using the method of organization of the multiple intelligences theory approach and graphic organizers approach showed gains in analytical reading and creative writing abilities from before organization of learning. (p< .01), but the students who learned using the method of organization of the multiple intelligences theory approach and graphic organizers approach did not statistically show different analytical reading and creative writing abilities.

Keywords : Organization of the multiple intelligences theory approach, Graphic organizers approach, Analytical reading, Creative writing abilities

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์