การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT

Main Article Content

รัชนี น้อมระวี
พิศมัย ศรีอำไพ
นิภาพร ชุติมันต์

Abstract

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยเทคนิค และวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT และแบบ 4 MAT เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางช่วยพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถรอบด้าน พัฒนาความสามารถเต็มตามศักยภาพ ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์และช่วยให้กระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์บรรลุ ตามเป้าหมายของหลักสูตร ดังนั้น การวิจัย ครั้งนีจึ้งมีความมุ่งหมายเพื่อพฒั นาแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ TGT และแบบ 4 MAT เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ให้มีประสิทธิภาพ ตาม เกณฑ์ 75/75 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT และแบบ 4 MAT เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ความสามารถ ใน การคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อน เรียนและหลังเรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT และแบบ 4 MAT และเพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ความสามารถในการคิด วิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียน รู้แบบ TGT และแบบ 4 MAT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเสอเพลอพิทยาคม จำนวน 48 คน จาก 2 ห้องเรียนๆ ละ 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มแล้วจับสลากเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มโดยกลุ่ม ทดลองที่ 1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT และกลุ่มทดลองที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 4 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT และ แบบ 4 MAT รูปแบบละ 15 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ จำนวน 40 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) มีค่าตั้งแต่ .24 ถึง .75 ค่าความเชื่อมั่น (rcc) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ .25 ถึง .58 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ .46 ถึง .75 ค่าความเชื่อมั่น (KR-20) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ .43 ถึง .68 ค่าความเชื่อมั่น (KR-20) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.68 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติ t–test (Dependent Samples) และ Hotelling-T2

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT และแบบ 4 MAT มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.59/83.44 และ 78.06/76.46 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบ TGT และแบบ 4 MAT เท่ากับ 0.7016 และ 0.6055 ตามลำดับ ซึ่งหมายความว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 70.16 และ 60.55 ตามลำดับ

3. นักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT และแบบ 4 MAT มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. นักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT และแบบ 4 MAT มี ความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. นักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT และแบบ 4 MAT มี เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. นักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT มีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT และแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ 4 MAT ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสมทำให้ผู้เรียนมีผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์สูง ขึ้น แต่เมื่อนำ 2 รูปแบบมาเปรียบเทียบกันจะเห็นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT ทำให้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT ดังนั้นครูผู้สอนคณิตศาสตร์ จึงควรนำวิธีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ TGT ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เรื่องสมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียวต่อไป

คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การคิดวิเคราะห์, เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT

 

Abstract

Mathematics instruction need to be efficiency and diverse techniques for learners. The TGT Model instruction and the 4 MAT Model instruction are an appropriate technique and method of teaching to help the mathematics teaching to be more efficient due to focus on helping students develop the knowledge and versatility, can fully develop their potential and response differences between individuals. Students have a good attitude toward mathematics and help the learning the process of mathematics achievement can attain the objectives and more efficiently. This research aimed to develop the lesson plans of the TGT Model Instructions and the 4 MAT Model Instructions Entitled “A linear equation in one variable” with the efficiency criteria of 75/75, to find out the effectiveness index of the lesson plans of the TGT model instructions and the 4 MAT model instructions, to compare learning achievement entitled “A linear equation in one variable”, analytical thinking and attitude toward mathematics of Mathayomsuksa 1 students between before and after learning based on the cooperative learning activities by using the TGT model instructions and the 4 MAT model instructions, to compare learning achievement entitled “A linear equation in one variable”, analytical thinking and attitude toward mathematics of students learned by using the TGT model instructions and the 4 MAT model instructions. The sample used in this study consisted of 48 students of Mathayomsuksa 1 attending Sur Phur Pittayakhom School in the second semester of the academic year 2010, obtained by using the Cluster Sampling technique. The students were divided into an experimental group and a control group, each of 24 students. The experimental group learned using cooperative learning activities by using the TGT model instructions while the control group learned using the 4 MAT model instructions. The research instruments were: 15 mathematics lesson plans for students learned using the TGT model instructions group and 15 mathematics lesson plans for students learned using the 4 MAT model instructions group; a 40-item achievement test with discriminating powers (B) ranging .24 to .75, and a reliability (rcc) of 0.82; a 30-item analytical thinking test with difficulties (P) ranging .25 to .58, discriminating powers ( r ) ranging .46 to .75, and a reliability (KR-20) of .95; and a 20-item attitude toward mathemetics test with discriminating powers (rxy) ranging .43 to .68, and a reliability (KR-20) of .68. The collected data were analyzed by percentage, mean and standard deviation, t–test (Dependent Sample) and Hotelling T2 were employed for testing hypotheses.

The results of the study were as follows:

1. The developed the lesson plans of the TGT Model Instructions and the 4 MAT Model Instructions Entitled “A linear equation in one variable” had an effectiveness of 84.59/83.44 and 78.06/76.4, respectively which passed the standard criteria.

2. An effectiveness index of the lesson plans of the TGT model instructions and the 4 MAT model instructions were 0.7016 and 0.6055, respectively. Showing that the students progressed their learning at 70.16 percent and 60.55 percent, respectively.

3. The students who learned by the TGT model instructions and the 4 MAT model instructions had learning achievement after learning higher than before learning at the .01 level of significance.

4. The students who learned by the TGT model instructions and the 4 MAT model instructions had analytical thinking after learning higher than before learning at the .01 level of significance.

5. The students who learned by the TGT model instructions and the 4 MAT model instructions had attitude toward matermatics after learning higher than before learning at the .01 level of significance.

6. The students who learned by the TGT model instructions had learning achievement, analytical thinking and attitude toward mathematics higher than those who learned by the 4MAT model instructions at the .01 level of significance.

In conclusion, the TGT model instructions and the 4MAT model instructions obtained and efficient, an effective and an appropriate, a learner-centered approach, showed higher learning achievement, analytical thinking and attitude toward Mathematics. A Comparisons of Mathematics learning by using 2 model instructions found that the TGT model instructions had learning achievement, analytical thinking and attitude toward mathematics higher than the 4MAT model instructions. The mathematics teachers, therefore, should be encouraged and supported the TGT model instructions to develop learning-teaching Mathematics especially on the topic of “A linear equation in one variable”.

Keywords : learning achievement, Analytical Thinking, Attitude toward Mathematics, The TGT Model Instructions, the 4 MAT Model Instructions

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์