ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

สุภัทรา วีระวุฒิ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรี เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดนนทบุรี และเพื่อสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ประสิทธิผล ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานใน จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 40 คน ครูผู้สอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 80 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,168 คน รวม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,288 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม 3 ฉบับ สำหรับนักเรียน ครู และผู้บริหารโรงเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และวิเคราะห์แบบจำลองความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุโดย ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรี มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าอิทธิพลเรียงจากมากไปน้อย ตามลำดับ คือ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของผู้ ปกครอง คุณลักษณะความเป็นครู และภาวะผู้นำของผู้บริหาร

2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำ นักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรี สรุปได้ดังนี้

2.1 ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และคุณลักษณะ ความเป็นครู มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน

2.2 ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง คุณลักษณะความ เป็นครู และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิผลของ โรงเรียน โดยมีค่าอิทธิพลเรียงจากมากไปน้อย ตามลำดับ คือ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน คุณลักษณะความเป็นครู และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง

2.3 ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และคุณลักษณะ ความเป็นครู มีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อประสิทธิผลของโรงเรียน โดยส่งผ่านคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ของนักเรียน ซึ่งมีค่าอิทธิพลเรียงจากมากไปน้อย ตามลำดับ คือ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของ ผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และคุณลักษณะความเป็นครู

3. แบบจำลองความสัมพนั ธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธผิ ลของโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรีที่สร้างขึ้นมี ความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

คำสำคัญ : ปัจจัยที่มีอิทธิพล, ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

Abstract

The purposes of this research was to investigate levels of the primary school effectiveness, to study factors affecting effectiveness of the primary schools, and to develop causal relationship models of factor affecting effectiveness of the primary schools under the Office of Basic Education Commission in Changwat Nonthaburi. The samples consisted of 40 school principals, 80 teachers in Prathom Suksa six, and 1,168 student in Prathom Suksa six, a total of 1,288 samples. A multi-stage random sampling procedure was used to generate the samples. Three different questionnaires were utilized to gather data from three different samples. Descriptive statistics including skewness, kurtosis, mean, standard deviation, and Pearsons correlation coefficient using computer program. The causal relationship models analyzed using computer program. The findings were as follows:

1. The effectiveness of the primary schools under the Office of Basic Education Commission in Changwat Nonthaburi was at the high level.

2. Factors affecting effectiveness of the primary schools under the Office of Basic Education Commission in Changwat Nonthaburi revealed as follows.

2.1 Administration leadership, parents’ involvement, and teacher characteristics had a direct positive effect on desirable characteristics, in descending order being: parents’ involvement, teacher characteristics, and administration leadership.

2.2 Administration leadership, parents’ involvement, teacher characteristics, desirable characteristics had a direct positive effect on schools effectiveness, in descending order being: administration leadership, desirable characteristics, teacher characteristics, and parents’ involvement.

2.3 Administration leadership, parents’ involvement, and teacher characteristics had an indirect positive effect on schools effectiveness through desirable characteristics, in descending order being: administration leadership, parents’ involvement, and teacher characteristics.

3. The causal relationship models affecting primary school effectiveness under the Office of Basic Education Commission in Changwat Nonthaburi was fitted the empirical data.

Keywords : factors affecting, effectiveness of the primary schools, the Office of Basic Education Commission

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์