การพัฒนาหลักสูตร การฝึกทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรการฝึกทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและ 2) ประเมินผลการใช้หลักสูตรการฝึกทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยสร้างหลักสูตรการฝึกทักษะ
การคิดทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาจากข้อมูลพื้นฐานและ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยได้นำหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่ง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลระยอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 48 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 48 คนนั้น ได้ผ่านกระบวนการสุ่มเข้าชั้นเรียนโดยคละความสามารถอย่างเป็นระบบจากทางโรงเรียนอยู่แล้ว ซึ่งทุกหน่วยของกลุ่มตัวอย่างสามารถเป็นตัวแทนของประชากรได้ เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรการฝึกทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ระดับประถมศึกษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 3) แบบวัดทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์ ซึ่ง ประกอบด้วย การแก้ปัญหาและการให้เหตุผล ตามหลักการของการ์ดเนอร์, คาลวินและทอมป์สัน และมาตรฐานกระบวนการของ สภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรการฝึกทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์ สำหรับนัก เรียนระดับ ประถมศึกษา มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน เนื่องจาก
1. หลักสูตรการฝึกทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์มีองค์ประกอบเหมาะสมและมีแผนการ จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกันทุกรายการอยู่ในระดับมาก
2. ทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์ของกลุ่มทดลองหลังใช้ สูงกว่าก่อนใช้หลักสูตรการ ฝึกทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : การพัฒนาหลักสูตร, ทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์, ประถมศึกษา
Abstract
The purposes of this research were to develop the curriculum for mathematical thinking skill practice in prathomsuksa livel and to evaluate the implementation of curriculum for mathematical thinking skill practice in prathomsuksa livel. The curriculum for mathematical thinking skill practice was constructed by the analysis on the related documents and researches. The subjects of this experimental research were 48 students in prathomsuksa 6 of Rayong kindergaten school , Rayong province in the second semester of the academic year 2009.The subjects were derived in experimental group by using cluster sampling. The research instruments consisted of curriculum for mathematical thinking skill practice, lesson plans and the mathematical thinking skill measurement form including problem solving and reasoning according to Gardner, Calvin & Thompson and process standards of the National Council of Teachers of Mathematics (NCTM).
The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, and t-test.
The findings of this research was found that the curriculum for mathematical thinking skill practice in prathomsuksa livel was suitable for learning development which were as follows:
1. There were suitable components in curriculum for mathematical thinking skill practice and the lesson plan had the consistency in each aspect at high level.
2. The students’ mathematical thinking skill in experimental group after using curriculum for mathematical thinking skill practice had higher statistically significantly at level of .05
Keywords : Development of Curriculum, Mathematical Thinking Skill practice, Prathomsuksa level