ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยึดมั่นผูกพันของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เอื้ออัมพร ทิพยทิฆัมพร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยึดมั่นผูกพันของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาใน 2 ประเด็น คือ 1) สถานภาพของพฤติกรรมการบริหารงานของผู้ บริหารโรงเรียน การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครู การพัฒนาวิชาชีพครู ความพึงพอใจในงาน และความยึดมั่นผูกพันของครู 2) อิทธิพลของพฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน การ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครู การพัฒนาวิชาชีพครู และความพึงพอใจในงาน ที่ส่งผลต่อความ ยึดมั่นผูกพันของครู และปัจจัยที่มีผลต่อมิติความผูกพันในการสอน มิติความผูกพันต่อนักเรียนและ มิติความผูกพันกับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณผสานการวิจัยเชิง คุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดกรุงเทพมหานครที่สอนในระดับประถมศึกษา ใช้การสุ่มหลาย ขั้นตอนได้กลุ่มตัวอย่างครูที่เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 498 ราย จาก 18 โรงเรียน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้บริหารโรงเรียน 18 ราย ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก 9 ราย และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากครูสายการสอน 3 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPPS for window ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบเชิงชั้น การวิเคราะห์อิทธิพลทางตรง/ทางอ้อมและขนาดของอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันของครู ส่วน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่ออธิบายเปรียบเทียบเชิงยืนยันกับผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ

ผลการวิเคราะห์ พบว่า การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับปาน กลาง การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครู การพัฒนาวิชาชีพครู ความพึงพอใจในงานและความ ยึดมั่นผูกพันของครู มีพอสมควร ปัจจัยที่ส่งผลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบ ด้วยตัวแปรย่อย 4 ตัว คือ พฤติกรรมการบริหารงานแบบสั่งการ การเสริมสร้างความเข้มแข็งที่ให้ ครูมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การพัฒนาวิชาชีพครูแบบส่วนบุคคล และความพึงพอใจในงานแบบ ภายใน โดยตัวแปร 2 ตัวแรกส่งผลในเชิงลบ ส่วนตัวแปร 2 ตัวหลังส่งผลในเชิงบวกต่อความยึด มั่นผูกพันของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และความพึงพอใจในงานยังส่งอิทธิพลโดยตรงและมาก ที่สุดต่อความผูกพันในการสอน ความผูกพันต่อนักเรียนและความผูกพันกับโรงเรียน ขณะที่การ พัฒนาวิชาชีพครูส่งอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความผูกพันของครูทั้ง 3 มิติดังกล่าวอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ได้พบข้อแตกต่างชัดเจนระหว่างข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูล เชิงปริมาณ คือ ผู้บริหารให้การสนับสนุนครูเป็นอย่างดี แต่ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณกลับ พบว่า พฤติกรรมการบริหารงานแบบสนับสนุนไม่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อความยึดมั่นผูกพันของครู แต่อย่างใด โดยพฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมีผลต่อความยึดมั่นผูกพันของครู ในทางอ้อมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

คำสำคัญ : ความยึดมั่นผูกพันของครู, พฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน, การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครู, การพัฒนาวิชาชีพครู, ความพึงพอใจในงานของครู

Abstract

The objectives of this research is to study 1). The status of school principals administrative behavior, teacher empowerment, teacher professional development, teacher job satisfaction and teacher commitment. 2). The factors influencing on teacher holistic commitment and the commitment in teaching, commitment with students and commitment to school, of teachers under the jurisdiction of Bangkok Metropolitan Administration. The study used the integrated method of quantitative and qualitative analysis. Data collecting has been done by means of multi-stages sampling of 498 questionnaires to which have been teaching in 18 primary schools. Qualitative research has been conducted through in-depth interviews to those 18 school principals, but only half of them by simple sampling plus 3 teachers are for analyzing. Quantitative data has been analyzed by using SPSS for window program version 11.5. Path analysis, Regression analysis and Hierarchical regression analysis has been applied to study the relationship among variables, direct / indirect effects, and influential relationship value, which influencing on teacher commitment. Qualitative data has been analyzed by contents analysis.

The analysis results revealed that the holistic status of school principals are moderate. But teacher empowerment, teacher professional development, teacher job satisfaction and commitment are substantial. Those factors have negative statistically significant influencing on teacher commitment which are the school principals’ directive behavior and teacher participative decision making. However, teacher personal development and teacher intrinsic job satisfaction have positive statistically significant result in influencing on teacher commitment. Moreover, teacher job satisfaction also has the most directed effect on teacher commitment. Teacher professional development and job satisfaction have positive statistically significant effecting on all 3 dimensions of commitment. (in teaching, with students and to school) while teacher professional development has both direct and indirect effect on these 3 dimensions of teacher commitment. Further more, according to qualitative data received from in-depth interview, the school principals support teachers as well, but it has been found that the finding are different at all. Particularly the school principals supportive behavior  which found no any effect to teacher commitment, but their administrative behavior have only a little indirect effect to teacher commitment.

Keywords : teacher commitment, principals administrative behavior, teacher empowerment, teacher professional development, teacher job satisfaction

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์