การรับรู้และ ทัศนคติเกี่ยวกับการประกันสังคม อัตราเงินสมทบที่สามารถจ่าย ได้ และการตัดสินใจเข้าสู่ระบบการประกันสังคม กับประโยชน์ทดแทนที่คาดหวัง ของแรงงานนอกระบบ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของการรับรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการ ประกันสังคม อัตราเงินสมทบที่สามารถจ่ายได้ และการตัดสินใจเข้าสู่ระบบการประกันสังคม กับประโยชน์ทดแทนที่คาดหวัง และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการ ประกันสังคม อัตราเงินสมทบที่สามารถจ่ายได้ และการตัดสินใจเข้าสู่ระบบการประกันสังคมกับ ประโยชน์ทดแทนที่คาดหวัง ของแรงงานนอกระบบ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ในจังหวัดสมุทรปราการ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัย ดำเนินการสร้างขึ้นแบบฐานแนวคิดทฤษฎีของตัวแปร วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย X ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ multiple regression analysis) และ ใช้โปรแกรม LISREL version 8.72 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างตัวแบบตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ผลการวิจัยพบว่าระดับการรับรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการประกันสังคม อัตราเงินสมทบ ที่สามารถจ่ายได้ และการตัดสินใจเข้าสู่ระบบการประกันสังคม กับประโยชน์ทดแทนที่คาดหวัง มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ระดับน้อยถึงระดับมาก ส่วนค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของการรับรู้และทัศนคติ เกี่ยวกับการประกันสังคม อัตราเงินสมทบที่สามารถจ่ายได้และการตัดสินใจเข้าสู่ระบบการประกัน สังคม กับประโยชน์ทดแทนที่คาดหวัง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับ 0.01 เป็นไปตาม เกณฑ์ที่กำหนด
คำสำคัญ : การประกันสังคม, แรงงานนอกระบบ, ประโยชน์ทดแทน
Abstract
The purpose of this research were to study the perception level and attitude of the informal labour on social security as well as their decision to enter into the social security system, their payable contribution rates and desired benefits; and to study the relationship between the knowledge and attitude on social security of the informal labour who are members of community enterprise on community enterprise on food processing in Samut Prakan Province.
It was found that the average of the informal labour’s perception level and attitude on the social security including their payable contribution rates, their decision to enter social security system, and their desired benefits when they enter into the social security system; was at low to high level.The relationship between the informal labour’s perception, their attitude on the social security, their decision to enter into the social security system, their payable contribution rate and their desired benefits when the enter into the social security system; however, were in accordance with the criteria designed at 0.01. In addition,
Keywords : social insurance, informal labors, benefit